Sunday, May 13, 2012

วันสะบาโตที่แท้จริง



วันสะบาโตที่แท้จริง

คำนำ

หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่สำคัญมาสำหรับผู้ที่เสาะหาความจริงเกี่ยวกับวันสะบาโต  ซึ่งเป็นวันบริสุทธิ์และเป็นวันหยุดเพื่อนมัสการพระเจ้า
            พระเจ้าทรงสร้างโลกภายในหกวัน  เมื่อถึงวันที่เจ็ดพระองค์ทรงหยุดพักจากการงานทั้งสิ้น  ในการเนรมิตสร้าง  พระเจ้าจึงทรงอวยพระพรแก่วันที่เจ็ด  ทรงตั้งไว้เป็นวันบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์  (ปฐมกาล 2:3)  ดังนั้น  วันสะบาโตจึงเป็นวันแห่งความชื่นชมยินดี  เป็นวันฉลองการกำเนิดของโลก  และเป็นอนุสรณ์แห่งการทรงไถ่  เป็นวันที่มวลมนุษย์ยอมรับในฤทธิ์อำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า  ที่ทรงเนรมิตโลก  บรรดาสัตว์และสรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลกรวมถึงมนุษย์ด้วย
            วันสะบาโตเป็นวันที่ประชากรของพระเจ้าจะเข้ามานมัสการพระองค์ในโบสถ์ด้วยความชื่นชมยินดี  ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นเรื่อยมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่   จึงเกิดมีการเปลี่ยนวันนมัสการจากวันที่เจ็ดมาเป็นวันที่หนึ่ง  เหตุการณ์เป็นอย่างไรขอเชิญศึกษาต่อไป

จากคณะผู้จัดทำ

1.
วันสะบาโตที่แท้จริง

                พระเจ้าเสด็จไปด้วยกันกับอาดัมและเอวาในขณะที่เขาทั้งสองกำลังชมบ้านใหม่อันเพียบพร้อมและสมบูรณ์  คือสวนเอเดนที่สวยสดงดงามเกินที่จะบรรยายได้  ขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้าในเย็นวันศุกร์ซึ่งเป็นวันที่หกนับตั้งแต่พระเจ้าทรงเริ่มสร้างโลก  ดวงดาวต่างๆ ปรากฏในท้องฟ้าและ  พระเจ้าทรงทอดพระเนตรสิ่งทั้งปวงที่พระองค์สร้างไว้  ทรงเห็นว่าดีนัก  (ปฐมกาล 1:31ฟ้าและแผ่นดิน  และบริวารทั้งสิ้น  ที่มีอยู่ในนั้น  พระเจ้าทรงสร้างสำเร็จดังนี้แหละ  (ปฐมกาล 2:1)
                ถึงแม้โลกจะสวยงามสักเพียงไร  แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ประเสริฐที่สุด  เพราะของขวัญอันล้ำค่ากว่านั้นที่พระเจ้าทรงให้กับมนุษย์คู่แรกคือ  สิทธิพิเศษที่จะได้เข้าเฝ้าพระองค์เป็นการส่วนตัว  ดังนั้นพระเจ้าจึงประทานวันสะบาโตให้เขา  ซึ่งเป็นวันที่จะได้รับพรเป็นพิเศษ  เป็นวันที่จะเข้าร่วมสามัคคีธรรมเป็นหนึ่งเดียวกับพระผู้สร้าง
ข้อความต่างๆ ในพระคัมภีร์ที่กล่าวถึงวันสะบาโต
                วันสะบาโตเป็นศูนย์กลางของการนมัสการพระเจ้า  เป็นอนุสรณ์แห่งการทรงสร้างที่บ่งชี้ว่าเหตุใดจึงต้องนมัสการพระองค์  คำตอบนั้นคือเพราะพระองค์ทรงเป็นพระผู้สร้างและเราเป็นผู้ที่พระองค์ทรงสร้างอย่างที่  เจ  เอ็น  แอนดริวส์  เคยกล่าวไว้ว่า  ดังนี้แหละวันสะบาโตจึงเป็นพื้นฐานของการนมัสการพระเจ้า  เพราะวันสะบาโตสอนถึงการนมัสการพระองค์ไว้อย่างน่าประทับใจ  ซึ่งในที่อื่นไม่อาจสอนอย่างนี้ได้  เหตุผลที่แท้จริงในการนมัสการพระเจ้า  (ไม่เฉพาะแต่การนมัสการในวันที่เจ็ด  แต่ในการนมัสการทุกครั้ง)  คือ  พระเจ้าเป็นพระผู้สร้างและเราเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์  เราไม่ควรจะละเลยหรือลืมข้อเท็จจริงนี้เสีย  ด้วยเหตุนี้เองพระเจ้าจึงสถาปนาวันสะบาโตเพื่อมนุษยชาติจะได้ระลึกถึงพระองค์ในฐานะพระผู้สร้าง
                1.1  วันสะบาโตเมื่อทรงสร้างโลก
                พระเจ้าทรงประทานวันสะบาโตให้แก่มนุษย์นับตั้งแต่โลกยังปราศจากความบาป  วันสะบาโตเป็นของขวัญชิ้นพิเศษจากพระเจ้า  เพื่อมนุษย์ผู้อาศัยอยู่บนโลกนี้จะได้ซาบซึ้งถึงความจริงสามประการที่พระเจ้าทรงกระทำในการสถาปนาวันสะบาโต
                ก.  พระเจ้าทรงพักในวันสะบาโต
                คำที่ประว่า  ทรงพัก  ในปฐมกาล 2:2 มาจากคำว่า  ชาบัธ  ในภาษาฮีบรูที่แปลว่า  การหยุดจากการทำงานหรือจากกิจธุระต่างๆ  พระเจ้าไม่ได้พักเพราะการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแต่อย่างใด  (อิสยาห์ 40:28)  แต่พระองค์ทรงหยุดจากการงานที่ได้ทรงปฏิบัติมาก่อนหน้านั้น  พระเจ้าทรงพักเพราะพระองค์ทรงปรารถนาให้มนุษย์พักด้วย  พระองค์จึงวางแบบอย่างให้มนุษย์ปฏิบัติตาม  (อพยพ 20:11, 31:17)
                ถ้าพระเจ้าทรงสร้างทุกสิ่งสำเร็จภายในหกวัน (ปฐมกาล 1:2) แล้วข้อความในพระคัมภีร์ที่เขียนว่าพระเจ้าทรง  เสร็จงาน  ในวันที่เจ็ดนั้นหมายความว่าอย่างไร  (ปฐมกาล 2:2)  เพราะว่าภายในหกวันพระเจ้าได้ทรงสร้างฟ้าและแผ่นดิน  ฯลฯ สำเร็จ  แต่ยังไม่ได้สถาปนาวันสะบาโต  พระองค์ทรงสถาปนาวันสะบาโตโดยการพักในวันนั้น  วันสะบาโตจึงเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายในการทรงสร้าง
                ข.  พระเจ้าทรงอวยพรวันสะบาโต
                พระเจ้าไม่เพียงแต่งตั้งวันสะบาโตขึ้นเท่านั้น  แต่ยังทรงอวยพระพรให้กับวันนี้ด้วย  และการที่พระองค์ทรงอวยพรวันสะบาโตนั้นหมายความว่า  ตั้งแต่นั้นมาวันสะบาโตเป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงโปรดปรานซึ่งจะอำนวยพระพรแก่บรรดาผู้ที่พระองค์ทรงสร้าง
                ค.  พระเจ้าทรงตั้งวันสะบาโตให้บริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์
                พระเจ้าทรงตั้งวันที่เจ็ดให้เป็นวันบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์  หมายความว่า  พระองค์ทรงแยกวันที่เจ็ดนั้นออกให้เป็นวันพิเศษ  เพราะทรงมีแผนการอันสูงส่งที่จะใช้วันนั้นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับมนุษย์
                พระเจ้าทรงอวยพรวันที่เจ็ดและตั้งไว้เป็นวันบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์  เพื่อมนุษยชาติไม่ใช่เพื่อพระองค์เอง  เพราะพระองค์ทรงพักจากการงานทั้งสิ้นของพระองค์ในวันนั้น  การทรงพักและทรงสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้านี้แหละที่ทำให้วันสะบาโตได้รับพระพรและความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์จากพระเจ้า
                1.2  วันสะบาโต  ณ  ภูเขาซีนาย
                เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลักจากชนชาติอิสราเอลได้อพยพออกจากประเทศอียิปต์แสดงให้เห็นว่าพวกเขาส่วนมากได้หลงลืมวันสะบาโต  การที่เป็นทาสต้องทำงานตรากตรำคงทำให้ยากต่อการรักษาวันสะบาโต  หลังจากที่พวกเขาได้รับอิสระไปไม่นานพระเจ้าทรงเตือนชนชาติอิสราเอลถึงหน้าที่ในการรักษาวันสะบาโต  ด้วยการประทานมานาให้พวกเขาอย่างอัศจรรย์และโดยการประกาศพระบัญญัติสิบประการ
                ก.  วันสะบาโตกับการประทานมานา
                หนึ่งเดือนก่อนที่พระเจ้าได้ประกาศพระบัญญัติจากภูเขาซีนาย  พระองค์ทรงสัญญากับคนอิสราเอลว่าจะป้องกันพวกเขาจากโรคต่างๆ ถ้าเขาได้  เงี่ยหูฟังพระบัญญัติของพระองค์และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของพระองค์ทุกประการ  (อพยพ 15:26; ปฐมกาล 26:5)  หลังจากทรงสัญญาไม่นาน  พระองค์ทรงเตือนชาวอิสราเอลถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวันสะบาโต  โดยประทานมานาให้พวกเขาอย่างอัศจรรย์  ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดว่าพระเจ้าถือว่าการพักในวันที่เจ็ดของคนอิสราเอลสำคัญมากสำหรับพระองค์
                ตลอดสี่สิบปีที่คนอิสราเอลอาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดาร  (ซึ่งรวมวันสะบาโตแล้วทั้งหมดมากกว่าสองพันวันสะบาโต)  การอัศจรรย์ในการเลี้ยงประชาชนด้วยมานานี้ได้เตือนพวกเขาถึงแบบแผนของพระเจ้า  คือมีหกวันสำหรับทำงานและวันที่เจ็ดเป็นวันพักผ่อน
                ข.  วันสะบาโตกับพระบัญญัติ
                พระเจ้าทรงจัดวางพระบัญญัติข้อบังคับเรื่องวันสะบาโตไว้เป็นศูนย์กลางของพระบัญญัติสิบประการซึ่งมีเขียนไว้ดังนี้ว่า
                จงระลึกถึงวันสะบาโต  ถือเป็นวันบริสุทธิ์  จงทำการงานทั้งสิ้นของเจ้าหกวัน  แต่วันที่เจ็ดนั้นเป็นวันสะบาโตของพระเจ้าของเจ้า  ในวันนั้นอย่ากระทำการงานใดๆ ไม่ว่าเจ้าเองหรือบุตรชายบุตรหญิงของเจ้า  หรือทาสทาสีของเจ้า  หรือสัตว์ใช้งานของเจ้า  หรือแขกที่อาศัยอยู่ในประตูเมืองของเจ้า  เพราะในหกวันพระเจ้าทรงสร้างฟ้าและดิน  ทะเล  และสรรพสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่เหล่านั้น  แต่ในวันที่เจ็ดทรงพัก  เพราะฉะนั้นพระเจ้าทรงอวยพระพรวันสะบาโต  และทรงจัดวันนั้นไว้เป็นวันบริสุทธิ์  (อพยพ 20:8-11)
                ทุกข้อในพระบัญญัติสิบประการสำคัญอย่างยิ่งและไม่ควรละเลยเสียแม้แต่ข้อเดียว  (ยากอบ 2:10)  ถึงกระนั้นพระเจ้าก็ยังทรงให้พระบัญญัติเรื่องวันสะบาโตพิเศษกว่าข้ออื่นๆ โดยกล่าวว่า  จงระลึก  ซึ่งเตือนมนุษยชาติว่าเป็นเรื่องอันตรายที่จะลืมความสำคัญของวันสะบาโต
                คำขึ้นต้นของพระบัญญัติข้อนี้ที่กล่าวว่า  จงระลึกถึงวันสะบาโตถือเป็นวันบริสุทธิ์  นั้นแสดงให้รู้ว่าวันสะบาโตไม่ได้เริ่มต้นที่ภูเขาซีนาย  คำเหล่านี้แสดงว่าวันสะบาโตเริ่มต้นก่อนหน้านั้น  และแท้จริงก็เริ่มต้นตอนที่พระเจ้าสร้างโลกอย่างที่พระบัญญัติได้ระบุไว้  พระเจ้าทรงมุ่งหมายให้เรารักษาวันสะบาโตไว้เป็นอนุสรณ์แห่งการทรงสร้าง  พระบัญญัติข้อนี้กำหนดเวลาที่จะพักและนมัสการ  โดยนำเราให้คิดไตร่ตรองถึงพระเจ้าพร้อมด้วยพระหัตถกิจของพระองค์
                การรักษาวันสะบาโตไว้เป็นอนุสรณ์แห่งการทรงสร้างนั้นเป็นเสมือนยาที่จะแก้  โรคแห่งการไหว้รูปเคารพ  โดยเตือนเราว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้สร้างฟ้าและดิน  ซึ่งข้อนี้แหละที่เป็นข้อแตกต่างระหว่างพระเจ้ากับพระเทียมเท็จ  ดังนั้นการรักษาวันสะบาโตจึงเป็นหมายสำคัญแห่งความจงรักภักดีต่อพระเจ้าเที่ยงแท้และเป็นการยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าสูงสุด  ทรงเป็นพระผู้สร้างและทรงเป็นพระมหากษัตริย์
                วันสะบาโตทำหน้าที่เป็นตราประทับแห่งพระบัญญัติของพระเจ้า  โดยทั่วไปแล้วตราประทับต่างๆ จะประกอบด้วยคุณสมบัติสามประการ  คือ
1)            ชื่อของเจ้าของตราประทับ
2)            ตำแหน่ง
3)            ขอบเขตของอำนาจการปกครอง
การประทับตราหมายความว่าเจ้าของตราเห็นด้วยกับข้อความในเอกสารนั้น  ซึ่งเอกสารต่างๆ จะเป็นทางการหรือมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับตราประทับบนเอกสารนั้นๆ ว่าเป็นของผู้ใด  มีตำแหน่งหน้าที่อย่างไร
ในจำนวนพระบัญญัติสิบประการ  ข้อที่กล่าวถึงวันสะบาโตเป็นข้อเดียวที่มีคุณสมบัติครบถ้วนของตราประทับ  และเป็นข้อเดียวที่บ่งบอกถึงพระเจ้าเที่ยงแท้โดย
1)            บอกพระนามของพระองค์ว่าเป็น  พระเจ้า
2)            ตำแหน่งของพระองค์คือพระผู้สร้างและ
3)            ขอบเขตการปกครองคือ  ฟ้าและแผ่นดิน (อพยพ 20:10-11)
ดังนั้นพระบัญญัติข้อที่สี่นี้จึงเป็น  ตราประทับของพระเจ้า  เพราะเป็นข้อเดียวในบรรดาสิบข้อที่แสดงให้รู้ว่ากฎบัญญัติเหล่านี้มีผลบังคับใช้โดยอำนาจของผู้ใด  พระเจ้าทรงกำหนดกฎบัญญัติเรื่องวันสะบาโตเป็นหนึ่งในพระบัญญัติสิบประการ  เพื่อเป็นเครื่องยันถึงอำนาจของพระบัญญัติเหล่านั้น
แท้จริงแล้วพระเจ้าให้วันสะบาโตเป็นเครื่องหมายเตือนให้ระลึกถึงอำนาจของพระองค์ในโลกที่เคยปราศจากร่องรอยแห่งความบาปหรือการกบฏ  การรักษาวันสะบาโตเป็นหน้าที่อันถาวรของทุกๆ คน  ซึ่งจะเห็นจากคำตักเตือนที่ว่า  จงระลึกถึงวันสะบาโตถือเป็นวันบริสุทธิ์  (อพยพ 20:8)
พระบัญญัติข้อนี้ได้แบ่งสัปดาห์ออกเป็นสองส่วน  พระเจ้าให้เวลามนุษย์  ทำการงานทั้งสิ้น  ของเขาหกวันในหนึ่งสัปดาห์  แต่วันที่เจ็ดนั้น  อย่ากระทำการงานใดๆ  (อพยพ 20:9-10)  พระบัญญัติกำหนดหกวันในหนึ่งสัปดาห์เป็นวัน  ทำงาน  แต่  วันที่เจ็ด  เป็น  วันพัก  การที่พระเจ้าทรงให้พักผ่อนในวันที่เจ็ดเป็นการจำเพาะเจาะจงนั้นจะเห็นได้ชัดจากคำขึ้นต้นในต้นฉบับภาษาฮีบรู  ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า  “Remember the Sabbath day to keep it holy” คำว่า  “the”  เป็นคำเจาะจงให้รู้แน่ชัดว่าไม่มีวันสะบาโตหลายวันในสัปดาห์
ถึงแม้ร่างกายของมนุษย์ต้องการพักผ่อนเป็นระยะๆ แต่นั่นมิใช่เหตุผลหลักที่พระเจ้าทรงให้เรารักษาวันสะบาโต  แต่เพื่อให้เราทำตามแบบอย่างที่พระองค์ทรงวางไว้  เนื่องจากว่าพระองค์ทรงพักจากการงานของพระองค์ในสัปดาห์แรกของโลกซึ่งเราควรปฏิบัติตาม
ค.  วันสะบาโตกับพันธสัญญา
พระบัญญัติของพระเจ้าเป็นศูนย์กลางของพันธสัญญา  วันสะบาโตซึ่งอยู่ในกลางของพระบัญญัติก็ปรากฏเด่นชัดในพันธสัญญาเช่นกัน  พระเจ้าตรัสถึงวันสะบาโตว่า  เป็นหมายสำคัญระหว่างเราและเขาทั้งหลาย  เพื่อเขาจะทราบว่าเราคือพระเจ้า  เป็นผู้กระทำให้เขาบริสุทธิ์  (เอเสเคียล 20:12, 20; อพยพ 31:17)
ดังนั้นพระเจ้าตรัสถึงการรักษาวันสะบาโตว่า  เป็นพันธสัญญาเนืองนิตย์  (อพยพ 31:16) ซึ่งเป็นพันธสัญญาที่วางไว้บนพื้นฐานความรักของพระเจ้าที่มีต่อพลไพร่ของพระองค์  ดังนั้นวันสะบาโตจึงเป็นสัญลักษณ์ถึงความรักของพระเจ้า
ง.  สะบาโตประจำปี
นอกจากวันสะบาโตประจำสัปดาห์แล้ว  (เลวีนิติ 23:3)  พระคัมภีร์ยังพูดถึงวันสะบาโตตามพิธีต่างๆ ประจำปีรวมอยู่อีกเจ็ดวัน  วันสะบาโตประจำปีเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวันสะบาโตประจำสัปดาห์  และวันสะบาโตเหล่านี้อยู่  นอกเหนือวันสะบาโตแห่งพระเจ้า  (เลวีนิติ 23:38)  มีดังนี้
1-2)  วันแรกและวันสุดท้ายของเทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ
    3)  เทศกาลวันเพ็นเทคอสต์  (คือเทศกาลสัปดาห์เฉลยธรรมบัญญัติ 16:10)
    4)  เทศกาลเป่าแตร
    5)  วันลบบาป  (เลวีนิติ 16)
6-7)  วันแรกและวันสุดท้ายของเทศกาลอยู่เพิง (เลวีนิติ 23:7, 8, 21, 24, 25, 28, 35, 36)
                เนื่องจากวันสะบาโตประจำปีเหล่านี้ขึ้นกับปฏิทินที่คนอิสราเอลใช้ในการคำนวณวันกำหนดพิธีต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้างขึ้นข้างแรมอีกที  ดังนั้นวันสะบาโตประจำปีอาจจะตรงกับวันไหนก็ได้  ถ้าวันสะบาโตประจำปีอาจจะตรงกับวันสะบาโตประจำสัปดาห์จะเรียกกันว่า  วันสะบาโตใหญ่(ยอห์น 19:31)
                วันสะบาโตประจำสัปดาห์ได้รับการสถาปนาไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่พระเจ้าทรงสร้างโลกและเป็นของมนุษยชาติ  แต่วันสะบาโตประจำปีเริ่มต้นพร้อมๆ กับพิธีกรรมต่างๆ ของชาวยิวที่ภูเขาซีนาย  ซึ่งพิธีเหล่านี้เล็งถึงพระผู้ช่วยให้รอด  และเมื่อพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน  การรักษาพิธีกรรมเหล่านั้นรวมถึงการรักษาวันสะบาโตประจำปีจึงสิ้นสุดลง
                1.3  วันสะบาโตกับพระคริสต์
                พระคัมภีร์สอนให้เรารู้ว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระผู้สร้างเช่นเดียวกับพระบิดา  (1 โครินธ์ 8:6; ฮีบรู 1:1-2; ยอห์น 1:3)  ดังนั้นพระเยซูจึงเป็นผู้ที่ทรงแยกวันที่เจ็ดออกให้เป็นวันพักพิเศษสำหรับมนุษย์
                พระเยซูทรงสอนว่าวันสะบาโตไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการทรงสร้างของพระองค์เท่านั้น  แต่ก็ยังเกี่ยวข้องกับการที่ทรงไถ่บาปของมนุษย์ด้วย  พระองค์ทรงพระชนม์นิรันดร์ (ยอห์น 8:56; อพยพ 3:14)  พระองค์ทรงใส่วันสะบาโตไว้ในพระบัญญัติเพื่อเป็นการกำชับถึงการนัดหมายระหว่างพระผู้สร้างกับมนุษย์  พระเยซูยังสอนอีกว่า  นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอีกประการหนึ่งที่จะต้องรักษาวันสะบาโตคือ  พระองค์ทรงไถ่พลไพร่ของพระองค์  (เฉลยธรรมบัญญัติ 5:14-15)  ดังนั้นวันสะบาโตจึงเป็นตราประทับสำหรับผู้ที่ยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นพระผู้สร้างและพระผู้ไถ่
                เราจึงเข้าใจได้ง่ายว่าทำไมพระเยซูทรงอ้างว่าพระองค์  เป็นเจ้าเป็นนายเหนือวันสะบาโต (มาระโก 2:28)  ก็เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นพระผู้สร้างและพระผู้ไถ่โดยตำแหน่งและอำนาจที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้  ถ้าพระเยซูเพียงแต่ประสงค์จะยกเลิกวันสะบาโตพระองค์ย่อมทำได้  แต่พระองค์ไม่ได้ยกเลิก  ตรงกันข้าม  พระองค์ทรงผูกพันวันสะบาโต้ไว้กับมนุษยชาติโดยกล่าวว่า  วันสะบาโตนั้นทรงตั้งไว้เพื่อมนุษย์  (มาระโก 2:27)
                ตลอดระยะเวลาที่พระเยซูประกอบพระราชกิจบนโลกนี้พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในการรักษาวันสะบาโตอย่างถูกต้อง  ดังที่พระธรรมลูกา 4:16 เขียนไว้ให้เรารู้ว่าพระองค์ทรงนมัสการในธรรมศาลาเป็นประจำแสดงว่าพระองค์ทรงสนับสนุนการนมัสการในวันที่เจ็ด
                พระเยซูทรงหวงแหนความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ของวันสะบาโตจึงทรงเตือนเหล่าสาวกถึงเหตุการณ์ร้ายๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากพระองค์เสด็จขึ้นสู่สวรรค์ว่า  จงอธิษฐานขอ  เพื่อการที่ท่านต้องหนีนั้น  จะไม่ตกในฤดูหนาวหรือในวันสะบาโต  (มัทธิว 24:20)  หมายความว่าภายหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสวรรค์จนถึงบัดนี้ยังต้องรักษาวันสะบาโตอยู่
                เมื่อพระเยซูทรงสร้างโลกนี้เสร็จแล้ว  พระองค์ทรงพักผ่อนในวันที่เจ็ด  ซึ่งการพักนั้นหมายถึงการเสร็จสิ้นภารกิจการทรงสร้าง  เมื่อครั้งพระเยซูสำเร็จพระราชกิจของพระองค์ในโลกนี้ที่บนไม้กางเขน  พระองค์ตรัสว่า  สำเร็จแล้ว (ยอห์น 19:30)  พระคัมภีร์ได้ย้ำว่าวันที่พระองค์สิ้นพระชนม์นั้นเป็น วันจัดเตรียมและวันสะบาโตก็เกือบจะถึงแล้ว  (ลูกา 23:54)  หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว  พระองค์ทรงพักในอุโมงค์ฝังศพซึ่งเป็นสัญลักษณะหมายถึงความสำเร็จในการไถ่มวลมนุษย์ (วันนั้นก็ตรงกับ วันสะบาโตใหญ่ เพราะเป็นทั้งวันที่เจ็ดของสัปดาห์และเป็นวันแรกของเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ)
                1.4  วันสะบาโตกับอัครสาวก
                อัครสาวกของพระเยซูได้ให้ความสำคัญกับวันสะบาโตเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งจะเห็นจากการปฏิบัติของพวกเขาตอนที่พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์  เมื่อย่างเข้าสู่วันสะบาโตพวกเขาได้หยุดการเตรียมฝังพระศพของพระองค์และได้  หยุดการไว้ตามพระบัญญัติ  โดยวางแผนไว้ว่าจะดำเนินการต่อ  ในวันต้นสัปดาห์  (ลูกา 23:56, 24:1)
                อัครสาวกนมัสการพระเจ้าในวันที่เจ็ดของสัปดาห์เช่นเดียวกับพระเยซู  เมื่ออาจารย์เปาโลออกไปประกาศ  ท่านได้เข้าไปในธรรมศาลาในวันสะบาโตและได้เทศนาเรื่องพระคริสต์  (กิจการ 13:14, 17:12, 18:4)  แม้แต่คนต่างชาติยังเชิญให้เปาโลเทศนาพระคำของพระเจ้าในวันสะบาโต  (กิจการ 13:42, 44)  ในเมืองที่ไม่มีธรรมศาลาอาจารย์เปาโลก็ได้ค้นหาสถานที่ที่ผู้คนใช้นมัสการกันในวันสะบาโต  (กิจการ 16:13)  การที่พระเยซูและอาจารย์เปาโลร่วมนมัสการในวันสะบาโตเป็นประจำนั้น  แสดงว่าทั้งสองยอมรับวันที่เจ็ดเป็นวันพิเศษสำหรับการนมัสการพระเจ้า
                อัครสาวกท่านนี้ได้รักษาวันสะบาโตประจำสัปดาห์อย่างซื่อสัตย์  ซึ่งตรงกันข้ามกับทัศนคติของเขาที่มีต่อวันสะบาโตประจำปี  ท่านสอไว้อย่างชัดเจนว่าคริสเตียนไม่จำเป็นต้องรักษาวันพักประจำปีเหล่านั้นเพราะวันและกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับพิธีกรรมได้ถูกตรึงไว้กับพระคริสต์แล้ว  ท่านบอกว่า  เหตุฉะนั้นอย่าให้ผู้ใดพิพากษาปรักปรำท่านในเรื่องการกิน  การดื่ม  ในเรื่องเทศกาล  วันต้นเดือน  หรือวันสะบาโต  สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเงาของเหตุการณ์ที่จะมีมาในภายหลัง  แต่กายนั้นเป็นของพระคริสต์  (โคโลสี  2:16-17)  ตัวอย่างในข้อนี้แสดงถึงข้อบังคับเกี่ยวกับพิธีต่างๆ จึงสรุปได้ว่า  วันสะบาโต  ที่พูดถึงในข้อนี้เป็นวันสะบาโตประจำปีสำหรับฉลองเทศกาลต่างๆ ไม่ใช่วันสะบาโตประจำสัปดาห์  ซึ่งเทศกาลต่างๆ และบรรดาวันสะบาโตประจำปีของคนยิวนั้นก็เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ได้รับความสำเร็จในพระเยซูคริสต์
                ในทำนองเดียวกัน  เปาโลได้คัดค้านการถือรักษาพิธีกรรมต่างๆ ของคนในคริสตจักรที่เมืองกาลาเทียโดยกล่าวว่า  ท่านถือวัน  เดือน  ฤดู  และปี  ข้าพเจ้าเกรงว่าการที่ข้าพเจ้าได้ทำเพื่อท่านนั้นจะไร้ประโยชน์  (กาลาเทีย 4:10-11)
                ส่วนคำพูดของยอห์นที่ว่า  พระวิญญาณได้ทรงดลใจข้าพเจ้าในวันขององค์พระผู้เป็นเจ้า  (วิวรณ์ 1:10)  มีหลายคนเข้าใจผิดว่าท่านหมายถึงวันอาทิตย์  แต่ในพระคัมภีร์มีเพียงวันเดียวที่ระบุว่าเป็นวันพิเศษของพระเจ้า  นั่นคือวันสะบาโต  พระเยซูตรัสว่า  วันที่เจ็ดนั้นเป็นสะบาโตของพระเจ้าของเจ้า  (อพยพ 20:10)  และต่อมาพระองค์ก็ทรงเรียกวันสะบาโตว่า  วันบริสุทธิ์ของเรา  (อิสยาห์ 58:13)  และพระเยซูยังเรียกพระองค์เองว่า  เป็นเจ้าเป็นนายเหนือวันสะบาโต  (มาระโก 2:28)  เนื่องจากว่าในพระคัมภีร์มีแต่วันที่เจ็ดเท่านั้นซึ่งเป็นวันสะบาโต  เป็นเพียงวันเดียวที่พระเจ้าทรงเรียกว่าเป็นวันของพระองค์  ดังนั้นจึงสมควรที่จะสรุปว่าในวิวรณ์  1:10 ยอห์นหมายถึงวันสะบาโตเพราะไม่มีข้อไหนในพระคัมภีร์ที่จะสนับสนุนให้เข้าใจว่ายอห์นหมายถึงวันต้นสัปดาห์หรือวันอาทิตย์
                ในพระคัมภีร์ไม่มีข้อความใดที่กำหนดให้เราถือรักษาวันอื่นในสัปดาห์นอกจากวันสะบาโตซึ่งเป็นวันที่เจ็ด  พระคัมภีร์ไม่ได้เรียกวันอื่นว่าเป็นวันบริสุทธิ์หรือเป็นวันที่จะได้รับพร  และในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ก็ไม่มี่ข้อใดที่จะทำให้เราเข้าใจว่าพระเจ้าได้เปลี่ยนวันสะบาโตมาเป็นวันอื่น  แต่ตรงกันข้ามพระคัมภีร์สอนให้เรารู้ว่าคนของพระเจ้าจะรักษาวันสะบาโตไปตลอดนิรันดร์  เพราะสวรรค์ใหม่  และแผ่นดินโลกใหม่ซึ่งเราจะสร้างจะยังอยู่ต่อหน้าเราฉันใด  พระเจ้าตรัสดังนี้  เชื้อสายของเจ้าและชื่อของเจ้าจะยังอยู่ฉันนั้น  พระเจ้าตรัสว่าทุกวันขึ้นค่ำ  และทุกวันสะบาโต  มนุษย์ทั้งสิ้นจะมานมัสการต่อเรา  (อิสยาห์ 66:22-23)


2.
ความหมายของวันสะบาโต

                วันสะบาโตมีความหมายและลักษณะที่สำคัญหลายประการดังต่อไปนี้
                2.1  อนุสรณ์ถาวรแห่งการทรงสร้าง
                ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว  พระบัญญัติสิบประการได้ให้ความสำคัญกับวันสะบาโตเพราะเป็นอนุสรณ์แห่งการสร้างโลก  (อพยพ 20:11-12)  พระบัญญัติข้อที่สี่สัมพันธ์กับการทรงสร้างของพระเจ้าอย่างแยกกันไม่ออก  วันสะบาโตและพระบัญญัติที่ให้รักษานั้นเป็นผลของการทรงสร้างโดยตรง  ยิ่งไปกว่านั้นมนุษยชาติทั้งปวงมีชีวิตอยู่เพราะการทรงสร้างของพระเจ้าซึ่งมีวันสะบาโตเป็นอนุสรณ์  มนุษย์จึงมีภาระหน้าที่รักษาวันสะบาโตอย่างถาวร  เพราะเป็นอนุสรณ์แห่งอำนาจของการทรงสร้างของพระเจ้า
                ผู้ที่ถือรักษาวันสะบาโตเป็นอนุสรณ์แห่งการทรงสร้างนั้นแสดงการยอมรับว่า
1)            พระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้าง
2)            ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของเขาโดยชอบ
3)            เขาเป็นฝีพระหัตถ์ของพระเจ้า
4)            เขายอมอยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์
ดังนั้นวันสะบาโตจึงเป็นอนุสรณ์สำหรับมนุษย์ทุกชาติทุกสมัยและไม่มี  บทเฉพาะกิจ  ที่จำกัดไว้เพียงเผ่าใดเผ่าหนึ่ง  ตราบใดที่มนุษย์ยังนมัสการพระผู้สร้าง  วันสะบาโตก็จะยังคงเป็นสัญลักษณ์และอนุสรณ์ของการทรงสร้างตราบนั้น
                2.2  สัญลักษณ์แห่งการทรงไถ่
                เมื่อพระเจ้าทรงปลดปล่อยชนชาติอิสราเอลจากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์  วันสะบาโตซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งการทรงสร้างอยู่แล้วก็ได้มาเป็นอนุสรณ์แห่งการปลดปล่อยด้วย  (เฉลยธรรมบัญญัติ 5:15)  พระเจ้าทรงปรารถนาจะปลดเปลื้องคนในสมัยนี้จากความบาปและความเห็นแก่ตัวเช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงปลดปล่อยคนอิสราเอลจากการเป็นทาสในสมัยก่อนและการรักษาวันสะบาโตอย่างถูกต้องก็จะช่วยให้เราซาบซึ้งถึงการปลดปล่อยนั้น
                ถ้าเราเพ่งใจไปที่ไม้กางเขนของพระคริสต์แล้ว  เราก็จะเห็นว่าวันสะบาโตเป็นสัญลักษณ์พิเศษของการทรงไถ่  วันสะบาโตเป็นอนุสรณ์แห่งการอพยพออกจากการเป็นทาสของความบาปภายใต้การทรงนำของพระคริสต์  ภาระที่หนักหนาที่เราต้องแบกอยู่นี้คือความรู้สึกสำนึกผิดที่เราไม่ได้เชื่อฟังพระเจ้า  แต่การพักผ่อนในวันสะบาโตจะเป็นโอกาสให้คริสต์เตียนได้วางภาระไว้กับพระเจ้าและยอมรับเอาสันติสุขในการพักผ่อนและการทรงให้อภัยของพระคริสต์โดยระลึกถึงการทรงพักในอุโมงค์ของพระองค์หลังจากที่ทรงชนะความบาปแล้ว
                2.3  สัญลักษณ์แห่งการชำระให้บริสุทธิ์
                วันสะบาโตเป็นสัญลักษณแห่งอำนาจของพระเจ้าที่สามารถเปลี่ยนแปลงเราได้และเป็นเครื่องหมายสำคัญของความบริสุทธิ์  จงสั่งชนชาติอิสราเอลว่า เจ้าทั้งหลายจงรักษาวันสะบาโตของเราไว้  เพราะนี่จะเป็นหมายสำคัญระหว่างเรากับเจ้าตลอดชั่วชาติพันธุ์ของเจ้า  เพื่อเจ้าจะได้รู้ว่าเราคือพระเจ้าผู้ได้กระทำเจ้าให้บริสุทธิ์’” (อพยพ 31:13; เอเสเคียล 20:20)  ดังนั้นวันสะบาโตจึงเป็นสัญลักษณ์ที่พระเจ้าทรงชำระเราให้บริสุทธิ์
                มนุษย์จะบริสุทธิ์ได้โดยพระโลหิตของพระคริสต์ (ฮีบรู 13:12)  และวันสะบาโตก็เป็นหมายสำคัญว่าผู้ที่เชื่อได้ยอมรับพระโลหิตของพระเยซูเพื่อรับการอภัยโทษฉันนั้น
                พระเจ้าทรงมีแผนการบริสุทธิ์สำหรับวันสะบาโตและพระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้คนของพระองค์มีหน้าที่บริสุทธิ์เช่นกัน  นั่นคือให้เป็นพยานเพื่อพระองค์  พลไพร่ของพระองค์ได้รับความบริสุทธิ์ในการเข้าร่วมสามัคคีธรรมกับพระเจ้าในวันสะบาโตและได้เรียนรู้ที่จะไม่พึ่งตนเองแต่จะพึ่งพระเจ้าผู้ทรงให้เขาบริสุทธิ์
                พลังอำนาจของพระเจ้าที่ทรงสร้างสรรพสิ่งนั้นเป็นพลังที่จะสร้างจิตวิญญาณขึ้นใหม่ตามพระฉายาของพระเจ้า  ผู้ที่รักษาวันสะบาโตนั้นถือว่าวันสะบาโตเป็นสัญลักษณ์แห่งการทรงชำระให้บริสุทธิ์  ซึ่งการมีใจบริสุทธิ์นั้นหมายถึงการมีอุปนิสัยที่สอดคล้องกับพระเจ้าและการเข้าสนิทอยู่ในพระองค์
                ความบริสุทธิ์มาจากการเชื่อฟังต่อหลักการที่สอดคล้องกับพระลักษณะอุปนิสัยของพระเจ้า  และวันสะบาโตเป็นเครื่องหมายของการเชื่อฟังนี้  ผู้ที่รักษาพระบัญญัติข้อที่สี่ด้วยใจ  ก็จะรักษาพระบัญญัติทั้งหมด
                2.4  สัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์
                ความซื่อสัตย์ของอาดัมกับเอวาถูกทดลองที่ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่วซึ่งอยู่ใจกลางสวนเอเดน  เช่นเดียวกับ  ความซื่อสัตย์ของมนุษยืทุกคนก็จะถูกทดลองด้วยพระบัญญัติที่สั่งให้รักษาวันสะบาโตซึ่งอยู่กลางพระบัญญัติสิบประการ
                พระคัมภีร์สอนว่าก่อนที่พระเยซูจะเสด็จมาครั้งที่สอง  มนุษย์ในโลกจะถูกแยกออกเป็นสองกลุ่มคือ  ผู้ที่ซื่อสัตย์และ  ประพฤติตามพระบัญญัติของพระเจ้า  กับผู้ที่บูชา  สัตว์ร้ายและรูปของมัน  (วิวรณ์ 14:12, 9)  ในเวลานั้นชาวโลกจะให้ความสำคัญกับความจริงของพระเจ้ามากขึ้น  และจะประจักษ์ว่าการยอมเชื่อฟังและรักษาวันสะบาโตในวันที่เจ็ดของสัปดาห์ตามที่พระคัมภีร์กล่าวไว้นั้น  ถูกต้องและสมควรกระทำ
                2.5  เวลาร่วมสามัคคีธรรม
                พระเจ้าทรงสร้างสัตว์ไว้ให้เป็นเพื่อของมนุษย์ (ปฐมกาล 1:24-25)  และสำหรับมิตรภาพที่สูงขึ้นไปกว่านั้น  พระเจ้าทรงประทานชายและหญิงให้ใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามีภรรยา  (ปฐมกาล 2:18-26)  แต่มิตรภาพอันสูงสุดที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่มนุษย์คือการเข้าร่วมสามัคคีธรรมกับพระองค์ในวันสะบาโต  พระเจ้าไม่ได้สร้างให้มนุษย์มีมิตรสัมพันธ์กับสัตว์และเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น  แต่พระองค์ทรงสร้างมนุษย์เพื่อมีความสัมพันธ์กับพระองค์เองด้วย
                ในวันสะบาโตเราสามารถสัมผัสการสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้าเป็นพิเศษ  ถ้าปราศจากวันสะบาโตแล้วมนุษย์ก็จะตรากตรำแบกภาระอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  ทุกวันก็จะดูเหมือนกันหมด  คือมุ่งอยู่กับหน้าที่การงานและกิจธุระฝ่ายโลก  แต่วันสะบาโตนำมาซึ่งความหมาย  ความสุข  ความหวัง  และกำลังใจ  เพราะในวันสะบาโตเรามีเวลาที่จะใกล้ชิดสนิทสนมกับพระเจ้าด้วยการนมัสการ  การอธิษฐาน  การร้องเพลงสรรเสริญ  การศึกษา  การไตร่ตรองภาวนาพระคำ  และการแบ่งปันข่าวประเสริฐให้แก่ผู้อื่น  วันสะบาโตเป็นโอกาสของเราที่จะสัมผัสการสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้าเป็นพิเศษ
                2.6  สัญลักษณ์แห่งความชอบธรรมโดยความเชื่อ
                คริสเตียนเชื่อว่าผู้ที่ยังไม่รู้จักพระเจ้าแต่เสาะแสวงหาความจริงด้วยความจริงใจสามารถรับแสงสว่างและการทรงนำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์  ให้รู้จักหลักการทั่วไปของพระบัญญัติของพระเจ้า  (โรม 2:14-16)  เพราะเหตุนี้เองพระบัญญัติที่เหลืออีกเก้าประการจึงพบอยู่ในคำสอนของหลายศาสนาด้วยกัน
                หลายคนเข้าใจเหตุผลที่ในหนึ่งสัปดาห์ควรพักหนึ่งวัน  แต่ยากที่เขาเหล่านั้นจะเข้าใจว่าทำไมกิจกรรมที่ดีและถูกต้องที่ทำในวันทั่วไปจึงเป็นบาปเมื่อทำในวันสะบาโต  ไม่มีปรากฏการณ์ใดในธรรมชาติที่จะใช้อ้างเป็นหลักฐานในการรักษาวันที่เจ็ดเป็นวันสะบาโต  การโคจรของดาวเคราะห์  การเติบโตของพืชผัก  การเปลี่ยนแปลงของฝนฟ้าอากาศ  และการดำรงชีวิตของสัตว์ต่างๆ ทุกอย่างในธรรมชาติดำเนินไปเหมือนๆ กันในแต่ละวัน  แล้วทำไมมนุษย์ต้องรักษาวันสะบาโตในวันที่เจ็ด  สำหรับคริสเตียนมีเหตุผลเดียวเท่านั้น  และเหตุผลนั้นก็เพียงพอคือพระเจ้าตรัสสั่งไว้ให้รักษา
                การที่พระเจ้าทรงเปิดเผยความจริงเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้มนุษย์เข้าใจถึงเหตุผลในการรักษาวันสะบาโตในวันที่เจ็ด  ดังนั้นผู้ที่รักษาวันที่เจ็ดเป็นวันสะบาโต  จึงรักษาโดยความเชื่อและไว้วางใจในพระเยซู  ผู้ทรงบัญชาให้รักษา  และการรักษาวันสะบาโตนั้นแสดงว่าผู้ที่เชื่อในพระเจ้าได้ยินยอมต่อน้ำพระทัยสำหรับชีวิตของเขาแทนการพึ่งสติปัญญาของตนเอง
                ผู้ที่เชื่อในพระเยซูไม่ได้รักษาวันสะบาโตเพื่อตนจะได้บุญหรือความชอบธรรม  แต่ได้รักษาเพราะเขามีความสัมพันธ์กับพระผู้ทรงสร้างและพระผู้ไถ่ของเขา
                การรักษาวันสะบาโตจึงเป็นผลอันเนื่องมาจากการที่พระเจ้าทรงกระทำให้ผู้เชื่อในพระเยซูเป็นคนชอบธรรมและการที่พระองค์ทรงชำระเขาให้บริสุทธิ์  วันสะบาโตจึงเป็นเครื่องหมายแสดงว่าผู้ที่เชื่อในพระองค์ได้รับการปลดปล่อยจากความบาปและได้รับความชอบธรรมที่สมบูรณ์แบบของพระองค์
                ขอยกตัวอย่างจากธรรมชาติ  ต้นมะม่วงไม่ได้ออกผลมะม่วงเพื่อได้ชื่อว่าเป็นต้นมะม่วง  แต่เพราะมันเป็นต้นมะม่วงอยู่แล้วจึงออกผลเป็นต้นมะม่วงตามธรรมชาติ  และคริสเตียนที่แท้จริงก็เช่นเดียวกัน  เขาจะไม่รักษาวันสะบาโตหรือพระบัญญัติข้ออื่นๆ เพื่อจะได้เป็นคนชอบธรรม  แต่ความชอบธรรมและความบริสุทธิ์ที่อยู่ในใจของผู้ที่เชื่อในพระเยซูจะแสดงออกโดยการรักษาวันที่เจ็ดเป็นวันสะบาโตโดยธรรมชาติ  คนที่รักษาวันสะบาโตแบบนี้จะไม่ละเว้นจากข้อห้ามต่างๆ ในวันสะบาโตเพื่อหวังเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า  แต่จะรักษาเพราะเขารักพระองค์และอยากใช้วันสะบาโตให้คุ้มค่าโดยการเข้าใกล้ชิดกับพระองค์
                การรักษาวันสะบาโตบ่งบอกว่าเราได้เลิกจากการพึ่งบุญของตนเองโดยสำนึกว่าพระเยซูซึ่งเป็นพระผู้สร้างและพระผู้ไถ่ของเราเท่านั้นที่จะสามารถช่วยเราให้รอดได้  แท้ที่จริงการรักษาวันสะบาโตอย่างถูกต้องนั้นแสดงว่าเราเทิดทูนพระเยซูไว้เป็นที่สูงสุดในชีวิตซึ่งพระผู้สร้างและพระผู้ไถ่ของเรากำลังสร้างเราขึ้นให้เป็นคนใหม่ในพระองค์  ดังนั้นการรักษาวันสะบาโตให้ถูกวันและถูกวิธีจึงเป็นเครื่องหมายของความชอบธรรมที่ได้มาโดยความเชื่อ
                2.7  สัญลักษณ์ของการพักพิงในพระเยซู
                วันสะบาโตเป็นอนุสรณ์ของการที่พระเจ้าทรงปลดปล่อยคนอิสราเอลโดยทรงนำเขาไปถึงที่พักในแผ่นดินคานาอัน  และเป็นข้อแตกต่างระหว่างคนของพระเจ้ากับชนชาติทั้งหลายที่อยู่ล้อมรอบเขา  ในทำนองเดียวกันวันสะบาโตเป็นสัญลักษณ์ของการที่พระเจ้าทรงปลดปล่อยเราออกจากความบาปและกำลังนำเราไปยังที่พักในเมืองสวรรค์  วันสะบาโตจึงได้แยกผู้ที่พระเจ้าทรงไถ่ไว้จากชาวโลก
                เพราะว่าผู้ใดที่ได้เข้าสู่การพำนักของพระเจ้าแล้ว  ก็ได้พักงานของตน  เหมือนพระเจ้าได้ทรงพักพระราชกิจของพระองค์  (ฮีบรู 4:10)  การพักนี้เป็นการพักฝ่ายจิตวิญญาณจากการพึ่งการกระทำของเราเองและเป็นการพักจากการทำบาป  พระเจ้าทรงเรียกพลไพร่ของพระองค์ให้เข้าสู่การพักนี้ซึ่งมีวันสะบาโตและแผ่นดินคานาอันเป็นสัญลักษณ์
                เมื่อพระเจ้าสร้างโลกเสร็จแล้วและทรงพักในวันสะบาโต  พระองค์ทรงให้โอกาสแก่อาดัมและเอวาได้เข้าพักพิงในพระองค์ในวันสะบาโตเช่นกัน  ถึงแม้พวกเขาจะพลาดพลั้งไป  แต่จุดมุ่งหมายเดิมของพระเจ้าในการให้มนุษย์ได้พักยังคงไม่เปลี่ยนแปลง  หลังจากที่อาดัมและเอวาทำบาป  วันสะบาโตได้เตือนเขาถึงการพักพิงในพระเจ้าอย่างต่อเนื่อง  การรักษาวันที่เจ็ดของสัปดาห์เป็นวันสะบาโตไม่เพียงแต่ประกาศถึงความเชื่อในพระผู้สร้างเท่านั้น  แต่ยังประกาศถึงความเชื่อในอำนาจของพระองค์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคนให้สมกับแผนการแรกที่พระองค์ทรงมีไว้สำหรับมนุษย์โลก  นั่นคือการพักผ่อนนิรันดร์ในเมืองสวรรค์ของพระองค์
                พระเจ้าเคยสัญญาถึงการพักฝ่ายจิตวิญญาณนี้ไว้กับชนชาติอิสราเอล  และถึงแม้ว่าพวกเขาพลาดโอกาสที่จะเข้าพัก  แต่คำเชิญชวนของพระเจ้ายังคงอยู่  ฉะนั้นจึงยังมีการพำนักสะบาโตสำหรับชนชาติของพระเจ้า  (ฮีบรู 4:9)  ทุกคนที่จะเข้าในการพำนักนี้จะต้องเข้าพำนักในพระเยซูโดยความเชื่อและพักจากความบาปและจากการพยายามช่วยตัวเองให้รอด
                พระคัมภีร์ใหม่กำชับคริสเตียนไม่ให้รีรอที่จะพักในพระคุณโดยความเชื่อ  เพราะ  วันนี้  เป็นวันเหมาะสมที่จะเข้าพัก  (ฮีบรู 4:7, 3:13)  ทุกคนที่เข้าใจในการพักนี้จะยกเลิกการพึ่งบุญของตนเองแต่จะพึ่งพระคุณของพระเยซูที่จะช่วยเขาให้รอด  ดังนั้นการรักษาวันสะบาโตในวันที่เจ็ดเป็นสัญลักษณ์ว่าผู้ที่เชื่อในพระองค์ได้เข้าถึงการพักแห่งข่าวประเสิรฐ

3.
ความพยายามต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงวันนมัสการ

                เนื่องจากวันสะบาโตมีบทบาทสำคัญในการนมัสการพระเจ้าในฐานะทรงเป็นพระผู้สร้างและพระผู้ไถ่  จึงไม่น่าแปลกใจที่ซาตานได้ทำสงครามต่อสู้วันสะบาโต
                ไม่มีข้อใดในพระคัมภีร์ที่อนุญาตให้เปลี่ยนวันที่  พระเจ้าทรงกำหนดให้นมัสการพระองค์  ซึ่งทรงตั้งไว้ในสวนเอเดนและทรงประกาศย้ำที่ภูเขาซีนาย  หลายคนที่รักษาวันอาทิตย์แทนวันสะบาโตยอมรับเรื่องนี้  คาร์ดินัล (พระราชาคณะ)  ท่านหนึ่งของคาทอลิก  ซึ่ง  คาร์ดินัล เจมส์ กิบบอนส์ (Cardinal James Gibbons)  เคยเขียนไว้ว่า  คุณสามารถอ่านพระคัมภีร์จากปฐมกาลถึงวิวรณ์และจะไม่พบแม้แต่บรรทัดเดียวที่สนับสนุนการรักษาวันอาทิตย์ให้บริสุทธิ์  แต่พระคัมภีร์ได้สั่งให้รักษาวันเสาร์เป็นวันพัก
                คริสเตียนนิกายโปรเตสแตนท์คนหนึ่งชื่อ  เอ.ที ลินคอล์น (A.T. Lincoln)  ยอมรับว่า  การที่บางคนบอกว่าพระคัมภีร์ใหม่เองสนับสนุนความเชื่อที่ว่า  ตั้งแต่พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์แล้วพระเจ้าได้ตั้งวันอาทิตย์เป็นวันสะบาโตนั้นฟังไม่ขึ้นเลย  ตามเหตุผลแล้วเหลือแนวทางปฏิบัติสิบประการไว้เป็นหลักศีลธรรม  คือการรักษาวันสะบาโตในวันที่เจ็ด
                ในเมื่อไม่มีหลักฐานในพระคัมภีร์ว่าพระเยซูหรืออัครสาวกของพระองค์ได้เปลี่ยนวันนมัสการจากวันเสาร์มาเป็นวันอาทิตย์  แล้วทำไมคริสเตียนส่วนมากจึงยึดถือวันอาทิตย์แทนวันเสาร์
                3.1  ประวัติการเริ่มต้นรักษาวันอาทิตย์
                การเปลี่ยนวันนมัสการจากวันเสาร์มาเป็นวันอาทิตย์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน  แต่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงทีละน้อย  หลังสมัยพระเยซูจนถึงก่อนศตวรรษที่ 2 ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการรักษาวันอาทิตย์ของคริสเตียน  แต่มีหลักฐานว่ากลางศตวรรษที่ 2 มีคริสต์เตียนบางคนนมัสการในวันอาทิตย์ด้วยใจสมัครแต่ยังไม่ได้เป็นวันหยุดพัก
                คริสตจักรที่กรุงโรมซึ่งประกอบด้วยสมาชิกต่างชาติเป็นส่วนมาก  (โรม 11:13)  ได้นำกระแสความนิยมไปสู่การนมัสการพระเจ้าในวันอาทิตย์
                ในกรุงโรมซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโรม  คนส่วนมากมีอคติต่อคนยิวอย่างรุนแรง  และนับวันยิ่งเพิ่มทวีขึ้น  คริสเตียนในกรุงโรมในสมัยนั้นจึงพยายามหาวิธีที่จะไม่ถูกนับรวมกับคนยิวโดยเปลี่ยนข้อปฏิบัติบางประการที่ถือเหมือนกับคนยิวเสีย  โดยเฉพาะการที่พวกเขาได้เริ่มโน้มเอียงจากการนับถือวันที่เจ็ด  จนมารักษาเฉพาะวันอาทิตย์แทนในที่สุด
                ตลอดศตวรรษที่ 2-5 ถึงแม้ว่าการนับถือวันอาทิตย์มีอิทธิพลทมากยิ่งขึ้นแต่คริสเตียนเกือบทั่วอาณาจักรยังคงรักษาวันสะบาโตในวันที่เจ็ด  นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งซึ่งมีชีวิตในสมัยศตวรรษที่ 5 ชื่อ โสกราตีส  (Socrates) ได้เขียนไว้ว่า  คริสตจักรเกือบทั่วทุกแห่งหนในโลกฉลองข้อลึกลับของพระเจ้าในวันที่เจ็ดของทุกสัปดาห์  แต่คริสเตียนในเมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria)  และในกรุงโรมได้หยุดทำเช่นนี้เนื่องจากประเพณีเก่าแก่บางอย่างของเขา
                ในศตวรรษที่ 4 และ 5 มีคริสเตียนจำนวนมาก  นมัสการในสองวันคือทั้งวันเสาร์และวันอาทิตย์  นักประวัติศาสตร์อีกคนหนึ่งในสมัยนั้นเชื่อว่าโซโซแมน (Sozomen)  เขียนว่า  พลเมืองของกรุงคอนสแตนติโนเปิล  (Constantinople)  และคนในเกือบทุกที่ไปชุมนุมกันทั้งในวันสะบาโตและในวันที่หนึ่งของสัปดาห์  ซึ่งคนในกรุงโรมและเมืองอาเล็กซานเดรียไม่ถือตามธรรมเนียมนี้เลย  ข้อความอ้างอิงข้างต้นทั้งสองข้อแสดงให้เห็นว่าโรมเป็นตัวตั้งตัวตีในการมองข้ามการรักษาวันสะบาโต  แต่เหตุใดผู้ที่หันจากการนมัสการในวันที่เจ็ดจึงมาเลือกวันอาทิตย์และไม่ใช่วันอื่นของสัปดาห์  เหตุผลหลักก็คือพระเยซูทรงฟื้นพระชนม์ในวันอาทิตย์  และในสมัยศตวรรษที่ 4-5 ได้มีคนที่แอบอ้างว่า  พระเยซูเห็นด้วยกับการพักและการนมัสการในวันนั้น  ซึ่งถือว่าแปลกมากที่ไม่มีนักเขียนในศตวรรษที่ 2 หรือ 3 อ้างข้อพระคัมภีร์แม้แต่ข้อเดียวเพื่อเป็นหลักฐานในการถือวันอาทิตย์แทนวันสะบาโต  การที่ลัทธิไหว้ดวงอาทิตย์ของชาวโรมันเป็นที่นิยมมากทั้งมีอิทธิพลสูงมีส่วนในการผลักดันให้คนรับวันอาทิตย์เป็นวันนมัสการ  ซึ่งในสมัยโบราณนั้นลัทธิการไหว้ดวงอาทิตย์ยังเป็นส่วนประกอบที่เก่าแก่ที่สุดของศาสนาโรมัน  ลัทธินี้ได้มีอิทธิพลต่อคริสตจักรด้วยจนกระทั่งวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 321 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine)  ออกกฎหมายวันอาทิตย์เป็นครั้งแรก  ซึ่งในกฎหมายฉบับนั้นได้สั่งให้ปิดร้านค้าและโรงงานในเมือง  แต่อนุญาตให้ชาวชนบททำการเกษตรได้  ต่อมาก็มีกฎหมายวันอาทิตย์หลายฉบับที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้นตามลำดับ  จนกระทั่งปี ค.ศ. 538  (ซึ่งเป็นปีแรกของจำนวน 1260 ปี  ตามคำพยากรณ์ในหนังสือดาเนียลและวิวรณ์ที่ทำนายว่าจะมีอำนาจขึ้นมาต่อสู้ความจริงของพระเจ้า)  ผู้นำของโรมันคาทอลิกได้ออกกฎหมายห้ามทำการเกษตรในวันอาทิตย์ด้วย
                3.2  คำพยากรณ์เรื่องการเปลี่ยนวันสำคัญของพระเจ้า
                พระคัมภีร์เปิดเผยให้รู้ว่าวันอาทิตย์เริ่มเข้ามาในคริสตจักรคือ  อำนาจลึกลับนอกกฎหมาย  ได้เริ่มทำงานในสมัยของอาจารย์เปาโล  (2 เธสะโลนิกา 2:7)  พระเจ้าได้สำแดงไว้ล่วงหน้าในดาเนียลบทที่ 7  ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงวันนมัสการ
                ดาเนียลเห็นในนิมิตว่าจะมีการเข้าโจมตีพลไพร่และพระบัญญัติของพระเจ้า  โดยในนิมิตนั้นท่านเห็นมีเขาอันหนึ่งบนหัวของสัตว์ร้ายตัวที่สี่  ได้ต่อสู้กับกฎเกณฑ์และคนของพระองค์  ซึ่งเป็นการทำนายถึงการหลงจากความจริงครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์คริสต์ศาสนา  สัตว์ตัวที่สี่นั้นหมายถึงอาณาจักรโรม  และเขาเล็กที่งอกขึ้นทีหลังนั้นหมายถึงอำนาจที่จะเกิดขึ้นจากโรท  ในดาเนียล 7:25 ได้ทำนายไว้ว่าเขาเล็กนั้น  จะคิดเปลี่ยนแปลงบรรดาวาระและธรรมบัญญัติ  เขาเล็กนี้ได้หลอกลวงมนุษย์ทั้งโลกให้หลงไป  แต่พระเจ้าทรงสัญญาว่าในที่สุดมันจะถูกพิพากษาลงโทษ  (ดาเนียล  7:11, 22, 26)  และในเวลาแห่งความยากลำบากครั้งสุดท้ายพระเจ้าจะทรงช่วยกู้คนของพระองค์ (ดาเนียล 12:1-2)
                ตลอดเวลาแห่งประวัติศาสตร์มีเพียงอำนาจเดียวเท่านั้นที่มีลักษณะตรงตามคำพยากรณ์นี้ทุกประการนั้นคือศาสนาโรมันคาทอลิก  ซึ่งจะสังเกตได้จากข้อความเล็กน้อยดังนี้
                ในช่วงเวลาประมาณ  ค.ศ. 1400 แพ็ททรัส เด แอนซาราโน (Petrus de Ancharano)  ยืนยันว่า  สันตะปาปาสามารถเปลี่ยนกฎของพระเจ้าได้  เพราะสิทธิอำนาจของท่านไม่ใช่ของมนุษย์  แต่เป็นของพระเจ้าและท่านทำหน้าที่แทนพระเจ้าบนโลกนี้  โดยมีอำนาจสูงสุดในการผูกมัดและปลดปล่อยลูกแกะของพระเจ้า  ซึ่งในสมัยปฏิรูปศาสนาครั้งยิ่งใหญ่นั้นลูเธอร์ (Luther) ได้สัมผัสกับความเชื่อของคาทอลิกในเรื่องนี้เมื่อท่านได้โต้วาทีกับ จอห์น เอ็ค (John Eck)
                ลูเธอร์อ้างว่า  ไม่ใช่ประเพณีของคริสตจักรแต่เป็นพระคำอันบริสุทธิ์ของพระเจ้าที่เขาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตโดยยึดถือ พระคัมภีร์และพระคัมภีร์เท่านั้น  (Sola scriptura)  ไว้เป็นคติพจน์  จอห์น เอ็ค ซึ่งอยู่ระดับแนวหน้าในการปกป้องหลักคำสอนของโรมันคาทอลิกนั้นได้โต้แย้งกับลูเธอร์ในจุดนี้โดยอ้างว่าอำนาจของคริสตจักรนั้นอยู่เหนือพระคัมภีร์  เขาได้ท้าทายลูเธอร์ในเรื่องการรักษาวันอาทิตย์แทนวันสะบาโตในพระคัมภีร์  โดยพูดว่า  ข้อพระคัมภีร์ที่กล่าวว่า  จงระลึกถึงวันสะบาโตถือเป็นวันบริสุทธิ์  เป็นโมฆะเพราะคริสตจักรได้เปลี่ยนวันสะบาโตโดยอำนาจของคริสตจักรเอง  ซึ่งท่านลูเธอร์ไม่อาจยกข้อพระคัมภีร์มาตอบได้เลย
                ในการประชุมที่เมืองเทรนต์ (Trent ค.ศ. 1545-1563)  เกสเพร์  เด  ฟอสโซ  (Gaspare de Fosso)  ซึ่งเป็นบาทหลวงชั้นหัวหน้าคาทอลิกได้กล่าวว่า  อำนาจของคริสตจักรอยู่เหนือคำสั่งสอนในพระคัมภีร์  เพราะวันสะบาโตไม่ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากคำสั่งของพระเยซูที่ตรัสไว้ว่าพระองค์มาเพื่อจะทำให้พระบัญญัติสำเร็จไม่ใช่มาเพื่อจะทำลายเสีย  แต่วันสะบาโตและกฎข้ออื่นๆ ถูกเปลี่ยนแปลงโดยสิทธิอำนาจของคริสตจักรเอง
                มีบางคนถามว่า  แล้วคริสตจักรคาทอลิกยังยึดถือข้อคิดนี้อยู่หรือไม่?  คำตอบมีอยู่ในคู่มือสอนหลักความเชื่อของคาทอลิก  ฉบับปี  ค.ศ.  1977  ซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นลักษณะถามตอบ
                ถาม  วันสะบาโตตรงกับวันไหน?
                ตอบ  วันสะบาโตตรงกับวันที่เจ็ด
                ถาม  แล้วทำไมเราจึงรักษาวันอาทิตย์แทนวันเสาร์
                ตอบ  เรารักษาวันอาทิตย์แทนวันเสาร์เพราะคริสตจักรคาทอลิกได้โอนความศักดิ์สิทธิ์จากวันเสาร์ให้กับวันอาทิตย์
                นักวิชาการท่านหนึ่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิกชื่อ  จอห์น เอ โอไบรอัน (John A O’Brien) ได้เขียนหนังสือยอดนิยมเล่มหนึ่งชื่อ  ความเชื่อของคนนับล้าน  (The faith of millions)  ซึ่งในหนังสือเล่มนั้นท่านสรุปว่า คริสตจักรคณะต่างๆ ที่ยึดถือพระคัมภีร์เป็นพื้นฐานของความเชื่อไม่มีเหตุผลที่จะรักษาวันอาทิตย์เพราะไม่มีข้อพระคัมภีร์สนับสนุน  เนื่องจากว่าประเพณีการรักษาวันอาทิตย์นี้มาจากอำนาจของคริสตจักรคาทอลิกโดยตรง
                3.3  การฟื้นฟูวันสะบาโต
                ในอิสยาห์  บทที่ 56 และ 58 พระเจ้าได้ทรงเรียกให้คนอิสราเอลปฏิรูปการรักษาวันสะบาโตโดยสำแดงว่าการประกาศข่าวประเสริฐจะได้ผลก็ต่อเมื่อคนของพระองค์รักษาวันสะบาโตให้บริสุทธิ์  (อิสยาห์ 56:1-2, 6-8)
                พระเจ้าทรงระบุพันธกิจให้กับคริสตจักร  คือให้เตือนผู้ที่นับถือพระเจ้าเพียงแต่ปาก  (อิสยาห์ 58:1-2)  พระเจ้าตรัสว่า  สิ่งปรักหักพังโบราณของเจ้าจะได้รับการสร้างขึ้นใหม่  เจ้าจะได้ซ่อมเสริมรากฐานของคนหลายชั่วอายุมากขึ้น  เจ้าจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ซ่อมกำแพงที่พัง  ผู้ซ่อมแซมถนนให้คืนคงเพื่อจะได้อาศัยอยู่  ถ้าเจ้าหยุดเหยียบย่ำวันสะบาโต  คือจากการทำตามใจของเจ้าในวันบริสุทธิ์ของเรา  และเรียกสะบาโตว่าวันปีติยินดีและเรียกวันบริสุทธิ์ของพระเจ้าว่า  วันมีเกียรติ  ถ้าเจ้าให้เกียรติมันไม่ไปตามทางของเจ้าเอง  หรือทำตามใจของเจ้าหรือพูดแต่เรื่องไร้สาระ  แล้วเจ้าจะได้ความปีติยินดีในพระเจ้า  และเราจะให้เจ้าขึ้นขี่อยู่บนที่สูงของแผ่นดินโลก  และเราจะเลี้ยงเจ้าด้วยมรดกของยาโคบ  บิดาของเจ้า  เพราะโอษฐ์ของพระเจ้าได้ตรัสแล้ว  (อิสยาห์  58:12-14)
                พันธกิจของอิสราเอลฝ่ายจิตวิญญาณ  (คือคริสตจักร)  ก็เหมือนกับพันธกิจของอิสราเอลโบราณคือฟื้นฟูและซ่อมแซมวันสะบาโตที่ถูกทำลายโดยอำนาจของเขาเล็กนั้น  (คริสตจักรคาทอลิก) เราต้องซ่อมแซมกำแพงที่แตกหัก  คือ  ให้พระบัญญัติของพระเจ้าสมบูรณ์  โดยให้วันสะบาโตคืนสู่สภาพเดิม
                นี่แหละเป็นภาระหน้าที่ของเราที่จะต้องเตือนชาวโลกให้เห็นถึงความสำคัญของพระบัญญัติของพระเจ้าและเตรียมตัวสำหรับการพิพากษาของพระองค์  (วิวรณ์  14:6-12)
                คำเตือนครั้งสุดท้ายนั้นคือ  เตือนชาวโลกให้ยังคงรักษาวันสะบาโตก่อนที่พระเยซูจะเสด็จกลับมาโดยกล่าวว่า  จงนมัสการพระองค์ผู้ได้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์  แผ่นดินโลก  ทะเล  และบ่อน้ำพุทั้งหลาย  (วิวรณ์ 14:7)
                เมื่อประกาศข่าวนี้ไปแล้วชาวโลกจะตื่นตัวและลุกขึ้นมาขัดขวางคำประกาศนี้  ถึงคราวนั้นทุกคนจะต้องตัดสินใจว่าจะซื่อสัตว์ต่อพระเจ้าโดยเชื่อฟังปฏิบัติตามพระบัญญัติและรักษาวันสะบาโต  หรือว่าจะทำตามสังคมส่วนใหญ่และถือตามประเพณีของมนุษย์ทั่วไปโดยรักษาวันอาทิตย์  ทุกคนจะต้องเลือกว่าจะรักษากฎของพระเจ้าหรือกฎของมนุษย์  คนในโลกจะถูกแยกออกเป็นสองกลุ่ม  กลุ่มหนึ่งจะรักษาพระบัญญัติของพระเจ้าและดำเนินตามความเชื่อของพระเยซูอีกกลุ่มหนึ่งจะรับเครื่องหมายของสัตว์ร้ายในที่สุด  (วิวรณ์ 14:12,9)
                คนของพระเจ้าควรรักษาวันสะบาโตอย่างสม่ำเสมอ  และเป็นแบบอย่างถึงความรักของพระเจ้าเพื่อจะเทิดทูนพระบัญญัติของพระองค์  ทั้งเป็นการให้เกียรติวันสะบาโตที่คนทั่วไปได้ละทิ้งเสีย
4.
การรักษาวันสะบาโต

                การ  ระลึกถึงวันสะบาโตถือเป็นวันบริสุทธิ์  นั้นหมายความว่าเราจะต้องคิดและวางแผนตลอดสัปดาห์ให้ทุกอย่างเตรียมพร้อมเพื่อจะรักษาวันสะบาโตให้เป็นที่ชื่นพระทัยของพระเจ้า  เราต้องระวังไม่ทำงานให้เหนื่อยเกินไปจนไม่สามารถมีความสุขกับการนมัสการในวันสะบาโต
                วันสะบาโตเป็นวันที่จะร่วมสามัคคีธรรมและเข้าเฝ้าพระเจ้าเป็นพิเศษ  เป็นวันฉลองการทรงสร้างและการทรงไถ่  ดังนั้นเราควรระวังไม่ทำกิจกรรมใดที่ทำให้รู้สึกว่าวันสะบาโตไม่ศักดิ์สิทธิ์  พระคัมภีร์ระบุว่าในวันสะบาโตเราจะต้องงดจากการงานของเรา  (อพยพ 20:8-11)  และให้เกียรติพระเจ้าโดย  ไม่ไปตามทางของเจ้าเองหรือทำตามใจของเจ้า  หรือพูดแต่เรื่องไร้สาระ  (อิสยาห์ 58:13)  การหาสิ่งบันเทิง  การคิด  การฟัง  การพูดหรือการทำกิจกรรมฝ่ายโลก  รวมถึงการเล่นกีฬาในวันสะบาโต  ล้วนแต่เป็นการไม่รักษาวันสะบาโตให้บริสุทธิ์  เพราะเป็นการทำลายความสัมพันธ์พิเศษที่จะมีกับพระเจ้าในวันนั้น  เราต้องระวังทั้งตัวเราและทุกคนที่อยู่ภายใต้การดูแลของเราด้วย  คือ  บุตร  ลูกจ้าง  แขก  และสัตว์ใช้งาน  (อพยพ 20:10)  เพื่อจะได้มีส่วนในพระพรแห่งวันสะบาโต
                วันสะบาโตเริ่มต้นเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินในเย็นวันศุกร์และสิ้นสุดเมื่อพระอาทิตย์ตกดินในเย็นวันเสาร์  (ปฐมกาล 1:5; มาระโก 1:32; เลวีนิติ 23:32) พระคัมภีร์เรียกวันศุกร์ว่า  วันเตรียม  (มาระโก 15:42)  เป็นวันเตรียมต้อนรับวันสะบาโต  เพื่อจะไม่มีอะไรทำให้วันสะบาโตเสื่อมเสียความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์  ส่วนผู้ที่ประกอบอาหารควรจัดเตรียมอาหารไว้ล่วงหน้าวันศุกร์เพื่อจะได้พักในวันสะบาโต  (อพยพ 16:23, กันดารวิถี 11:8)
                ในขณะที่ดวงอาทิตย์ใกล้จะตกดินในเย็นวันศุกร์สมาชิกครอบครัวหรือกลุ่มผู้เชื่อควรจะร่วมกันร้องเพลงอธิษฐาน  และอ่านพระคัมภีร์เป็นการต้อนรับวันสะบาโต  และควรทำแบบเดียวกันเพื่อส่งท้ายวันสะบาโตในเวลาพลบค่ำของวันเสาร์และขอการทรงนำของพระเจ้าสำหรับสัปดาห์ใหม่
                พระเจ้าทรงเชื้อเชิญคนของพระองค์ให้มีความปีติยินดีในวันสะบาโต (อิสยาห์ 58:13)  และเราจะรื่นเริงยินดีได้ด้วยการปฏิบัติตามแบบอย่างของพระเยซูผู้ทรงเป็นเจ้าเป็นนายเหนือวันสะบาโต  เราจะได้พบความสุขที่แท้จริงและความพึงพอใจที่พระเจ้าทรงเตรียมให้เราในวันนั้น
                พระเยซูทรงเข้าร่วมนมัสการพระเจ้าและทรงสั่งสอนประชาชนในวันสะบาโตอย่างสม่ำเสมอ  (มาระโก 1:29-31; ลูกา 14:1)  ทรงใช้เวลาในธรรมชาติ  (มาระโก 2:23)  และเสด็จไปกระทำความดีโดยรักษาคนป่วย  และคนอนาถา  (มาระโก 1:21-31, 3:1-5; ลูกา 13:10-17, 14:2-4; ยอห์น 5:1-15, 9:1-4)
                เมื่อพวกฟาริสีกล่าวติเตียนพระองค์ที่ทรงรักษาคนป่วยให้หายในวันสะบาโต  พระองค์ทรงตอบเขาว่าพระเจ้าทรง  อนุญาตให้ทำการดีได้ในวันสะบาโต  (มัทธิว 12:12)  การรักษาคนในวันสะบาโตนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือเลิกล้มวันสะบาโตแต่อย่างใด  หากแต่เป็นการยกเลิกข้อบังคับต่างๆ ของพวกฟาริสี  วันสะบาโตเป็นเครื่องมือของพระเจ้าที่จะฟื้นจิตวิญญาณของมนุษย์  แต่พวกเขาได้เปลี่ยนแปลงความหมายอันแท้จริงนี้เสีย  ดังนั้นกิจกรรมใดก็ตามที่ช่วยให้ใกล้ชิดพระเจ้าจึงเหมาะสมในวันสะบาโต  แต่กิจกรรมที่หันเหความสนใจของเราไปในทางอื่นนั้นไม่สมควรกระทำ
                พระผู้เป็นเจ้าของวันสะบาโตทรงเชิญชวนให้ทุกคนกระทำตามแบบอย่างของพระองค์  ผู้ที่ปฏิบัติตามจะพบว่าวันสะบาโตเป็นวันที่สุขสำราญ  เป็นการเลี้ยงฝ่ายจิตวิญญาณและเป็นการชิมรสของสวรรค์ล่วงหน้า  พวกเขาจะพบว่าวันสะบาโตเป็นยาที่พระเจ้าทรงจัดไว้ให้ในทุกสัปดาห์เพื่อบำบัดความท้อถอย  วันสะบาโตจะนำกำลังใจมาให้เราถึงแม้ว่าอุปนิสัยของเรายังไม่ดีพร้อม  แต่เราก็สามารถอยู่อย่างสมบูรณ์แบบได้ในพระเยซู  ความสำเร็จของพระเยซูบนไม้กางเขนทำให้เราได้กลับคืนดีกับพระเจ้า  ดังนั้นเราจึงเข้าพำนักอยู่ในพระองค์


5.
ข้อคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันสะบาโต

                ?  พระคัมภีร์ระบุไหมว่าพระเจ้าทรงมีวันที่ทรงตั้งไว้เป็นพิเศษ
                >  “พระวิญญาณได้ทรงดลใจข้าพเจ้าในวันขององค์พระผู้เป็นเจ้า  (วิวรณ์ 1:10)
                ?  วันไหนคือวันแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า
                >  “เหตุฉะนั้นบุตรมนุษย์เป็นเจ้าเป็นนายเหนือวันสะบาโต (มาระโก 2:28)  แสดงว่าวันสะบาโตเป็นวันพิเศษของพระเจ้า
                ?  ในเมื่อหนึ่งสัปดาห์มีเจ็ดวัน  แล้ววันไหนเป็นวันสะบาโต
                >  “จงระลึกถึงวันสะบาโต  ถือเป็นวันบริสุทธิ์...วันที่เจ็ดนั้นเป็นสะบาโตของพระเจ้า  (อพยพ 20:8, 10)
                ?  แล้ววันที่เจ็ดของสัปดาห์ที่เราควรรักษานั้นตรงกับวันอาทิตย์หรือวันเสาร์หรือวันอื่น
                ครั้นวันสะบาโตล่วงไปแล้ว...เวลารุ่งเช้าวันต้นสัปดาห์พอดวงอาทิตย์ขึ้นเขาก็มาถึงอุโมงค์...ครั้นเขาไปในอุโมงค์แล้วได้เห็นหนุ่มคนหนึ่ง...คนหนุ่มนั้นบอกเขาว่า  อย่าตกตะลึงเลย  พวกเจ้าทั้งหลายมาหาพระเยซูชาวนาซาเร็ธซึ่งต้องตรึงไว้ที่กางเขนพระองค์ทรงเป็นขึ้นมาแล้ว...’”  (มาระโก 16:1-6; ยอห์น 20:1; ลูกา 23:54-56, 24:1)  พระเยซูทรงฟื้นพระชนม์ในวันอาทิตย์  ซึ่งพระคัมภีร์บอกอย่างชัดเจนว่าวันฟื้นพระชนม์นั้นเป็นวันถัดมาหลังจากวันสะบาโต  แสดงว่าวันสะบาโตต้องเป็นวันเสาร์
                ?  พระเจ้าได้ทรงล้มเลิกพระบัญญัติที่ให้รักษาวันสะบาโตหรือเปล่า
>  “อย่าคิดว่าเรามาเลิกล้างธรรมบัญญัติและคำของผู้เผยพระวจนะ  เรามิได้มาเลิกล้างแต่มาทำให้สมบูรณ์ทุกประการ  (มัทธิว 5:17)
?  พระเจ้าได้ทรงเปลี่ยนแปลงพระบัญญัติข้อที่สี่ซึ่งสั่งให้รักษาวันสะบาโต  เพื่อผู้ที่เชื่อในพระองค์จะได้รักษาวันอื่นแทนหรือเปล่า
>  “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า  ตราบใดที่ฟ้าและดินดำรงอยู่  แม้อักษรหนึ่งหรือขีดๆ หนึ่งก็จะไม่สูญไปจากธรรมบัญญัติ...  (มัทธิว 5:18)
?  พระเจ้าทรงตั้งวันสะบาโตไว้เพื่อชาวยิวเท่านั้นหรือ
>  “วันสะบาโตนั้นทรงตั้งไว้เพื่อมนุษย์  (มาระโก 2:27)  พระเจ้าทรงตั้งวันสะบาโตไว้ในสวนเอเดนเพื่อมนุษย์  ก่อนที่จะมีชนชาติยิวถึงสองพันห้าร้อยกว่าปี  (ปฐมกาล 2:1-3)
?  หลังจากพระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขนแล้ว  สาวกของพระองค์ก็ไม่ได้รักษาวันสะบาโตตามพระบัญญัติอีกต่อไปใช่ไหม
>  “วันนั้นเป็นวันจัดเตรียมและวันสะบาโตก็เกือบจะถึงแล้ว  ฝ่ายพวกผู้หญิงที่ตามพระองค์มาจากแคว้นกาลิลีก็ตามไปและได้เห็นอุโมงค์  ทั้งได้เห็นเขาวางพระศพของพระองค์ไว้อย่างไรด้วย  แล้วเขาก็กลับไปจัดแจงเครื่องหอมกับน้ำมันหอม  ในวันสะบาโตนั้นเขาก็หยุดการไว้ตามพระบัญญัติ  (ลูกา 23:54-56)  ในสายตาของพวกสาวก  การจัดการกับพระศพของพระเยซูยังไม่สำคัญเท่ากับการรักษาวันสะบาโต
?  อัครทูตเปาโลมักจะพบปะกับพี่น้องคริสเตียนในวันอาทิตย์เพื่อเป็นการให้เกียรติวันฟื้นคืนพระชนม์มิใช่หรือ
ไม่ใช่  แต่เปาโลจะเข้าไปในธรรมศาลาในวันสะบาโต  เปาโลจึงเข้าไปในธรรมศาลานั้นตามอย่างเคย  และท่านได้อ้างข้อความในพระคัมภีร์โต้ตอบกับเขาได้สามวันสะบาโต  (กิจการ 17:2)
?  บางทีเปาโลอาจจะพบกับพวกยิวในวันสะบาโตและคนต่างชาติในวันอาทิตย์ใช่ไหม
>  “เปาโลได้สนทนาธรรมในธรรมศาลาทุกวันสะบาโต  ได้ชักชวนทั้งพวกยิวและพวกกรีกให้เชื่อ  (กิจการ 18:4)  แสดงว่าเปาโลได้สอนทั้งคนยิวและคนกรีกในวันสะบาโต
?  เปาโลสอนเกี่ยวกับการรักษาวันสะบาโตว่าอย่างไร
>  “ฉะนั้นจึงยังมีการพำนักสะบาโตสำหรับชนชาติของพระเจ้า  เพราะว่าผู้ใดที่ได้เข้าสู่การพำนักของพระเจ้าแล้ว  ก็ได้พักงานของตนเหมือนพระเจ้าได้  ทรงพักพระราชกิจของพระองค์  (ฮีบรู 4:9-10)
?  เปาโลหมายถึงอะไรเมื่อกล่าวว่า  พักงานของตนเหมือนพระเจ้าได้ทรงพัก
>  “ในวันที่เจ็ดนั้นพระเจ้าก็ได้ทรงหยุดพักการงานทั้งสิ้นของพระองค์  (ฮีบรู 4:4)
?  เปาโลร่วมประชุมนมัสการกับพี่น้องในวันอาทิตย์ด้วยไม่ใช่หรือ  อย่างที่กล่าวในกิจการ 20:7
กิจการ 20:7 เป็นที่เดียวในพระคัมภีร์ที่ได้บันทึกว่าคริสเตียนได้ประชุมนมัสการในวันอาทิตย์  ซึ่งจากการสังเกตข้อความดังกล่าวอย่างละเอียดแล้ว  จะเห็นได้ว่าการประชุมนี้เป็นกรณีพิเศษ  เพราะเปาโลเทศนาในคืนวันเสาร์  (ถือว่าเป็นวันต้นสัปดาห์)  ทั้งคืนเนื่องจากวันรุ่งขึ้นท่านจะต้องเดินทาง  ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ข้อนี้เป็นหลักฐานในการถือรักษาวันอาทิตย์แทนวันเสาร์
?  แต่ในข้อเหล่านี้ยังเขียนว่าพวกเขาได้ร่วมกันเพื่อหักขนมปัง  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำกันเฉพาะในวันสะบาโตไม่ใช่หรือ
>  เขาได้ร่วมใจกันไปในพระวิหารและหักขนมปังตามบ้าน...ทุกวันเรื่อยไป  (กิจการ 2:46)  ในพระคัมภีร์ใหม่การหักขนมปังมีสองความหมาย  ความหมายแรกคือพิธีศีลมหาสนิท  ความหมายที่สองคือ  การร่วมสามัคคีธรรม
?  ถ้าพระคัมภีร์สอนให้ถือรักษาวันสะบาโตจริงแล้วทำไมคนส่วนมากจึงถือวันอาทิตย์แทนวันเสาร์  และใครเป็นคนเริ่มให้มีการถือวันอาทิตย์
<  “ท่าน  (อำนาจเขาเล็ก) จะพูดคำกล่าวร้ายองค์ผู้สูงสุด  และจะให้วิสุทธิชนขององค์ผู้สูงสุดนั้นอิดหนาระอาใจและจะคิดเปลี่ยนแปลงบรรดาวาระและธรรมบัญญัติ  (ดาเนียล 7:25)  จากการศึกษาดาเนียลบทที่ 7  พร้อมด้วยประวัติศาสตร์โลกจะพบว่ามีเพียงอำนาจเดียวที่ตรงกับอำนาจเขาเล็กในคำพยากรณ์นั้นคือคริสตจักรโรมันคาทอลิก
?  คริสตจักรโรมันคาทอลิกมีความคิดเห็นอย่างไรที่เขาได้เปลี่ยนพระบัญญัติของพระเจ้า
>  “หากคริสตจักรไม่มีอำนาจเช่นนั้น  ก็คงไม่สามารถกระทำในสิ่งที่นักศาสนศาสตร์สมัยใหม่ต่างก็เห็นด้วย  คริสตจักรก็คงไม่สามารถทำให้มีการถือวันอาทิตย์เป็นวันต้นสัปดาห์แทนการถือวันเสาร์  การถือวันที่เจ็ดของสัปดาห์ถูกเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีสิทธิอำนาจรับรองจากพระคัมภีร์  เขียนโดย  สตีเฟน  คีแนน  (Stephen Keenan)  บาทหลวงคาทอลิกในหนังสือ Doctrinal Catechism, p.174
?  การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเมื่อไร
ปีเตอร์  เกียร์แมน  (Peter Geierman)  ได้เขียนข้อความต่อไปนี้ไว้ในหนังสือ  The Convers’ Catechism, p.50  (หนังสือปุจฉาเล่มนี้ได้รับการอวยพรจากพระสันตะปาปา  เมื่อวันที่  25 มกราคม  1910)  เราถือวันอาทิตย์แทนวันเสาร์เพราะคริสตจักรคาทอลิกมีการประชุมสภาที่เมืองเลาดีเซีย (ค.ศ. 364)  และได้เปลี่ยนแปลงความสำคัญจากวันเสาร์มาเป็นวันอาทิตย์แทน
ศาสนาจารย์ของโปรเตสแตนท์เห็นด้วยไหม
?  คริสเตียนคองกรีเกชั่น จะเห็นอย่างแน่ชัดว่า  แม้เราอุทิศตนอย่างจริงจังอย่างไรในวันอาทิตย์ก็ตาม  แต่นั่นไม่ใช่การถือรักษาวันสะบาโต  ดร.อาร์ ดับ ลิว เดล  The Ten Commandments, p.106
คริสตจักรเมธอดิสท์ คำว่าสะบาโตในภาษาฮีบรู  หมายถึงการพักผ่อน  และเป็นวันที่เจ็ดของสัปดาห์...และเราต้องยอมรับว่าไม่มีกฎข้อใดในพระคัมภีร์ (พันธสัญญาใหม่)  ที่ให้ความสำคัญกับวันต้นสัปดาห์  จากหนังสือ  Theological Dictionary
คริสตจักรแบ๊บติสท์ --  มีพระบัญญัติที่ให้ถือวันสะบาโตเป็นวันบริสุทธิ์  แต่วันสะบาโตไม่ใช่วันอาทิตย์  อย่างไรก็ตามมีคนที่กล่าวอย่างเต็มปากว่า  วันสะบาโตรวมถึงกฎและหน้าที่ต่างๆ ของวันนั้นถูกเปลี่ยนจากวันที่เจ็ดมาเป็นวันต้นสัปดาห์  ข้าพเจ้าศึกษาเรื่องนี้มาหลายปี  ขอย้ำว่าในพระคัมภีร์ใหม่ไม่มีการบันทึกเรื่องการเปลี่ยนแปลงวันสะบาโตจากวันที่เจ็ดมาเป็นวันต้นสัปดาห์แต่อย่างใด  ไม่มีเลย  แต่น่าเสียดายที่วันนั้นได้รับความสำคัญเพราะลัทธิไหว้ดวงอาทิตย์และเพราะการหนุนหลังของสันตะปาปา  จึงสืบทอดเป็นมรดกศักดิ์สิทธิ์มายังพวกโปรเตสแตนท์  จากหนังสือ  The Baptist Manual  โดย ดร.อี.ที.ฮิสค็อก  (E.T.Hiscox)
?  การถือวันที่เจ็ดนั้นมีความแตกต่างอะไรกับการถือวันอื่นในเมื่อวันไหนก็เหมือนๆ กัน
แตกต่างที่การเชื่อฟัง  ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่าถ้าท่านยอมตัวรับใช้ฟังคำของผู้ใด  ท่านก็เป็นทาสของผู้ที่ท่านเชื่อฟังนั้น  คือเป็นทาสของบาปซึ่งนำไปสู่ความตาย  หรือเป็นทาสของการเชื่อฟังซึ่งนำไปสู่ความชอบธรรมก็ตาม  (โรม 6:16)
? ถ้าอย่างนั้นเราควรจะเชื่อฟังใคร  ควรรักษาวันสะบาโตตามพระบัญญัติของพระเจ้าหรือถือวันอาทิตย์ของมนุษย์
ข้าพเจ้าจำต้องเชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์  (กิจการ 5:29)
?  แล้วพระเจ้าทรงคิดอย่างไรกับคนที่ถือวันอาทิตย์
อย่างนั้นแหละ  ท่านทั้งหลายทำให้ธรรมบัญญัติของพระเจ้าเป็นหมันไป  เพราะเห็นแก่คำสอนของพวกท่าน...เขานมัสการเราโดยหาประโยชน์มิได้ด้วยเอาบทบัญญัติของมนุษย์มาตู่ว่าเป็นพระดำรัสสอนของพระเจ้า  (มัทธิว 15:6,9)
?  แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าคนนับล้านที่ถือวันอาทิตย์ต่างก็ผิดหมด
จงเข้าไปทางประตูแคบ  เพราะว่าและทางกว้างซึ่งนำไปถึงความพินาศและคนที่เข้าไปทางนั้นมีมาก  เพราะว่าประตูซึ่งนำไปถึงชีวิตนั้นก็คับและทางก็แคบ  ผู้ที่หาพบก็มีน้อย  (มัทธิว 7:13-14)
?  แล้วทำไมจึงพบเห็นว่ามีอาจารย์เก่งๆ และนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงจำนวนมากไม่ถือรักษาวันเสาร์เป็นวันสะบาโต
>  “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย  จงพิจารณาดูว่าพวกท่านที่พระเจ้าได้ทรงเรียกมานั้นเป็นคนพวกไหน  มีน้อยคนที่โลกนิยมว่ามีปัญญา  มีน้อยคนที่มีอำนาจ  มีน้อยคนที่มีตระกูลสูง  แต่พระเจ้าได้ทรงเลือกคนที่โลกถือว่าโง่เขลา  เพื่อทำให้คนมีปัญญาอับอาย  และได้ทรงเลือกคนที่โลกถือว่าอ่อนแอ  เพื่อทำให้คนที่แข็งแรงอับอาย  ( 1 โครินธ์  1:26-27)  บรรดาผู้สอนศาสนาผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยของพระเยซูได้ปฏิเสธความจริงเหมือนกันผู้ที่เชื่อและติดตามพระองค์ส่วนมากแล้วเป็นคนสามัญธรรมดา
?  ข้าพเจ้าได้รับและเชื่อในพระเยซูและได้รักษาวันอาทิตย์มานาน  ข้าพเจ้าเชื่อว่าตนเองคงไม่หลงหายไปจากพระเจ้าถึงแม้ไม่ได้รักษาวันเสาร์เป็นวันสะบาโต
ในเวลาเมื่อมนุษย์ยังไร้เดียงสา  พระเจ้ามิได้ทรงถือโทษ  แต่เดี๋ยวนี้  พระเจ้าได้ตรัสสั่งแก่มนุษย์ทั้งปวงทั่วทุกแห่งให้กลับใจใหม่  (กิจการ 17:30)
?  แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระเจ้าคงไม่ถือโทษที่ข้าพเจ้ามิได้รักษาวันสะบาโตใช่ไหม
คนใดที่กล่าวว่า  ข้าพเจ้าคุ้นกับพระองค์’  แต่มิได้ประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์  คนนั้นเป็นคนพูดมุสาและความจริงไม่ได้อยู่ในคนนั้นเลย  (1 ยอห์น 2:4)
?  แต่การที่ข้าพเจ้ารักพระเจ้า  และดำรงชีวิตตามกฎแห่งความรักยังไม่เพียงพอหรือ
>  “ถ้าท่านทั้งหลายรักเรา  ท่านก็จะประพฤติตามบัญญัติของเรา  (ยอห์น 14:15)
?  หมายความว่าต้องรักษาให้ครบทั้งสิบข้อใช่ไหม
เพราะว่าผู้ใดรักษาธรรมบัญญัติได้ทั้งหมดแต่ผิดอยู่ข้อเดียว  ผู้นั้นก็เป็นผู้ผิดธรรมบัญญัติทั้งหมด  (ยากอบ 2:10)
?  การพยายามติดตามพระเยซูเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดและคงเพียงพอมิใช่หรือ
ผู้ใดกล่าวว่าตนอยู่ในพระองค์  ผู้นั้นก็ควรดำเนินตามทางที่พระองค์ทรงดำเนินนั้น  (1 ยอห์น 2:6)
?  พระเยซูทรงเป็นแบบอย่างของการรักษาวันสะบาโตอย่างไร
แล้วพระองค์เสด็จมาถึงเมืองนาซาเร็ธ  เป็นที่ซึ่งพระองค์ทรงเจริญวัยขึ้น  พระองค์เสด็จเข้าไปในธรรมศาลาในวันสะบาโตตามเคยและทรงยืนขึ้นเพื่อจะอ่านพระธรรม  (ลูกา  4:16)
                ?  เนื่องจากว่าเวลาล่วงมาเกินสองพันปีแล้ว  ถ้าหากพระเยซูเสด็จมาในโลกปัจจุบันพระองค์จะถือวันอื่นแทนวันสะบาโตหรือเปล่า
                >  “เราคือพระเจ้าไม่มีผันแปร  (มาลาคี 3:6)  “พระเยซูคริสต์ยังทรงเหมือนเดิมในเวลาวานนี้  และเวลาวันนี้  และต่อๆ ไปเป็นนิจกาล  (ฮีบรู 13:8)
                ?  ถ้าอย่างนั้นความรอดขึ้นอยู่กับการเชื่อฟังอย่างนั้นหรือ
                เมื่อพระเจ้าทรงทำให้พระเยซูเพียบพร้อมทุกประการแล้ว  พระเยซูก็เลยทรงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความรอดนิรันดร์สำหรับคนทั้งปวงที่เชื่อฟังพระองค์  (ฮีบรู 5:9)
                ?  จำเป็นมากไหมที่จะต้องถือพระบัญญัติ
                >  “ถ้าท่านปรารถนาจะเข้าในชีวิตก็ให้ถือรักษาพระบัญญัติไว้  (มัทธิว  19:17)
                ?  ทำไมพระเจ้าจึงสนับสนุนให้ถือวันที่เจ็ดซึ่งเป็นวันเสาร์  วันอาทิตย์ก็ดีเท่ากับวันเสาร์มิใช่หรือ
                >  “พระเจ้าจึงทรงอวยพระพรแก่วันที่เจ็ดทรงตั้งไว้เป็นวันบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์  (ปฐมกาล 2:3)  พระเจ้าได้ทรงอำนวยพรและข้าพเจ้าจะเรียกกลับไม่ได้  (กันดารวิถี 23:20ข้าแต่พระเจ้า  สิ่งใดที่พระองค์ทรงอำนวยพระพรสิ่งนั้นก็ได้รับพระพรเป็นนิตย์  (1 พงศาวดาร 17:27)
                ?  แล้วถ้าเลือกถือวันใดวันหนึ่งในสัปดาห์จะได้ไหม
                พระเจ้าทรงตำหนิคาอินที่เลือกนมัสการพระองค์ตามวิธีการของเขาเอง  แทนที่จะทำตามพระบัญชาของพระองค์  (ปฐมกาล 4)  มิใช่ทุกคนที่เรียกเราว่า  พระองค์เจ้าข้า  พระองค์เจ้าข้า  จะได้เข้าในแผ่นดินสวรรค์  แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามพระทัยพระบิดาของเรา  ผู้ทรงสถิตในสวรรค์จึงจะเข้าได้  (มัทธิว  7:21)
                ?  แต่ข้าพเจ้าอธิษฐานต่อพระองค์เป็นประจำ
                >  “ถ้าผู้ใดไม่ฟังพระบัญญัติ  แม้คำอธิษฐานของเขาก็เป็นสิ่งน่าเกลียดน่าชัง  (สุภาษิต 28:9)
                ?  มีบางคนสามารถทำการอัศจรรย์  รักษาคนป่วยได้  บางคนพูดภาษาแปลกๆ ก็ได้  แต่เขาไม่ได้ถือวันสะบาโต  คนพวกนี้จะเป็นอย่างไร
                เมื่อถึงวันนั้นจะมีคนเป็นอันมากร้องแก่เราว่า พระองค์เจ้าข้า  พระองค์เจ้าข้า  ข้าพระองค์กล่าวพระวจนะในพระนามของพระองค์  และได้ขับผีออกในพระนามของพระองค์  และได้กระทำการมหัศจรรย์เป็นอันมากในพระนามของพระองค์มิใช่หรือ’  เมื่อนั้นเราจะได้กล่าวแก่เขาว่า  เราไม่เคยรู้จักเจ้าเลย  เจ้าผู้กระทำความชั่ว  จงไปเสียให้พ้นหน้าเรา’”  (มัทธิว 7:22-23)
                ?  ข้าพเจ้ารู้ว่าวันสะบาโตเป็นวันบริสุทธิ์  แต่การทำงานคงมีปัญหาถ้าหยุดวันเสาร์  เพราะข้าพเจ้าอาจต้องถูกออกจากงาน
                >  เพราะถ้าผู้ใดจะได้สิ่งของสิ้นทั้งโลก  แต่ต้องเสียชีวิตของตน  ผู้นั้นจะได้ประโยชน์อะไร  (มาระโก 8:36)
                ?  ข้าพเจ้าเชื่อเรื่องวันสะบาโต  แต่จำเป็นต้องทำงานในวันเสาร์เพื่อความอยู่รอดของครอบครัว
                >  “เพราะว่าพวกต่างชาติแสวงหาสิ่งของทั้งปวงนี้  แต่ว่าพระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์ทรงทราบแล้วว่า  ท่านต้องการสิ่งทั้งปวงเหล่านี้  แต่ท่านทั้งหลายจงแสวงหาแผ่นดินของพระเจ้าและความชอบธรรมของพระองค์ก่อน  แล้วพระองค์จะทรงเพิ่มเติมสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ให้  (มัทธิว 6:32-33)  ข้าพเจ้ายังไม่เคยเห็นคนชอบธรรมถูกทอดทิ้ง  หรือลูกหลานของเขาขอทาน  (สดุดี 37:25)
                ?  ข้าพเจ้าเกรงว่าเพื่อนฝูงจะพากันเยาะเย้ยถ้าข้าพเจ้าถือวันเสาร์เป็นวันสะบาโต
                >  “เมื่อเขาจะติเตียนข่มเหง  และนินทาว่าร้ายท่านทั้งหลายเป็นความเท็จเพราะเรา  ท่านก็เป็นสุข  จงชื่นชมยินดีเพราะว่าบำเหน็จของท่านมีบริบูรณ์ในสวรรค์เพราะเขาได้ข่มเหงผู้เผยพระวจนะทั้งหลายที่อยู่ก่อนท่านเหมือนกัน  (มัทธิว 5:11-12)  ถ้าโลกนี้เกลียดชังท่านทั้งหลาย  ก็จงรู้ว่าโลกได้เกลียดชังเราก่อน  (ยอห์น 15:18)
                ?  ถ้าครอบครัวของข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย  ข้าพเจ้าควรจะทำอย่างไร
                >  “ผู้ใดที่รักบิดามารดายิ่งกว่ารักเรา  ก็ไม่มีค่าควรกับเรา  และผู้ใดรักบุตรชายหญิงยิ่งกว่ารักเรา  ผู้นั้นก็ไม่มีค่าควรกับเรา...ผู้ที่จะเอาชีวิตของตนรอด  จะกลับเสียชีวิต  แต่ผู้ที่สู้เสียชีวิตของตนเพราะเห็นแก่เราก็จะได้ชีวิตรอด  (มัทธิว  10:37-38)  ก็เช่นนั้นแหละ  ทุกคนในพวกท่านที่มิได้สละสิ่งสารพัดที่ตนมีอยู่  จะเป็นสาวกของเราไม่ได้  (ลูกา 14:33) 
                ?  ข้าพเจ้าอ่อนแอเกินไป  กลัวว่าจะไม่สามารถทนต่อการทดลองได้
                >  “แต่พระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า  การที่มีคุณของเราก็พอแก่เจ้าแล้ว  เพราะความอ่อนแอมีที่ไหนเดชของเราก็มีฤทธิ์ขึ้นเต็มขนาดที่นั่น  เหตุฉะนั้นข้าพเจ้าจึงภูมิใจในบรรดาความอ่อนแอของข้าพเจ้าเพื่อฤทธิ์เดชของพระคริสต์จะได้อยู่ในข้าพเจ้า  เหตุฉะนั้นเพราะเห็นแก่พระคริสต์  ข้าพเจ้าจึงชื่นใจในบรรดาความอ่อนแอของข้าพเจ้า...เพราะว่าข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด  ข้าพเจ้าก็จะแข็งแรงมากขึ้นเมื่อนั้น  (2 โครินธ์ 12:9-10)  ข้าพเจ้าอยากผจญทุกสิ่งได้  โดยพระองค์ผู้ทรงเสริมกำลังข้าพเจ้า  (ฟิลิปปี 4:13)
                ?  ถ้าอย่างนั้นการเสียสละเพื่อจะได้รักษาพระบัญญัติของพระองค์ด้วยความซื่อสัตย์จะได้อะไรเป็นบำเหน็จ
                >  “ถ้าผู้ใดได้สละเหย้าเรือน  หรือภรรยา  หรือพี่น้อง  หรือบิดามารดา  หรือบุตรเพราะเห็นแก่แผ่นดินของพระเจ้า  ในยุคนี้ผู้นั้นจะได้รับตอบแทนหลายเท่าและในยุคหน้าจะได้ชีวิตนิรันดร์  (ลูกา 18:29-30)  คนทั้งหลายที่ชำระเสื้อผ้าของตนก็เป็นสุข  เพื่อว่าเขาจะได้มีสิทธิ์ในต้นไม้แห่งชีวิต  และเพื่อเขาจะได้เข้าไปในนครนั้นโดยทางประตู  (วิวรณ์ 22:14)  (ต้นฉบับภาษากรีกบางฉบับเขียนว่า  คนทั้งหลายที่รักษาพระบัญญัติก็เป็นสุข...)
                ?  ในสวรรค์ยังมีการรักษาวันสะบาโตหรือไม่
                >  “เพราะสวรรค์ใหม่  และแผ่นดินโลกใหม่ซึ่งเราจะสร้าง  จะยังอยู่ต่อหน้าเราฉันใด  พระเจ้าตรัสดังนี้  เชื่อสายของเจ้าและชื่อของเจ้าจะยังอยู่ฉันนั้น  พระเจ้าตรัสว่า  ทุกวันขึ้นค่ำและทุกวันสะบาโต  มนุษย์ทั้งสิ้นจะมานมัสการต่อเรา  (อิสยาห์ 66:22-23)
                ?  ถ้าเป็นเช่นนั้น  สิ่งใดที่สำเร็จในสวรรค์ก็ขอให้สำเร็จในโลกเช่นกัน  ข้าพเจ้าจะถือรักษาวันสะบาโตโดยพึ่งความช่วยเหลือของพระองค์
                >  “ดีแล้ว  เจ้าเป็นทาสดีและสัตย์ซื่อ  เจ้าสัตย์ซื่อในของเล็กน้อย  เราจะตั้งเจ้าให้ดูและของมาก  (มัทธิว 25:21)
  Visit us for more information http://www.greatesthope.com
or contact

or contact
Thailand Adventist Mission 
12 Soi Pridi Banomyong 37, Sukhumvit 71
Klongtan Nua, Wattana, Bangkok 10110

Telephone: 02-391-3595, 02-391-0525
Fax: 02-381-1928

Information:  
P.O. Box 234 Prakanong Bangkok 10110 Thailand

No comments: